วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

การเลือกสินค้าหรือบริการที่จะขาย

การที่จะประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการ คุณต้องพัฒนาความสามารถที่จะเลือกและเสนอสินค้าหรือบริการที่มันใช่ ต่อลูกค้าของคุณที่อยู่ในตลาดที่คุณกำลังแข่งขันอยู่.  ความสามารถในการเลือกนี้สำคัญกว่าความสามารถอื่นๆ  เพราะสิ่งที่คุณเลือกนั้นมันคือตัวกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจเลยทีเดียว
กว่า 80% ของสินค้าและบริการที่บริโภคกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่แตกต่างจากที่เคยบริโภคเมื่อ 5 ปีก่อน และสิ่งที่จะใช้ในอีก 5 ปีหลังจากนี้ ก็จะแตกต่างจากที่มันเป็นอยู่ในปัจจุบัน
สินค้าและบริการเป็นร้อยเป็นพันที่มีให้บริโภคในทุกวันนี้ มันไม่มีขีดจำกัดสำหรับคุณที่จะก้าวเข้ามาสู่ตลาดและแข่งขันด้วยสินค้าและบริการใหม่ๆที่ดีกว่าที่มันเป็นอยู่ และมันก็เป็นอาะไรที่พร้อมจะถูกเสนอจากลูกค้าของคุณเช่นกัน จงจำไว้ว่าทักษะในการเลือกสินค้าและบริการนั้นเองจะเป็นตัวกำหนดถึงความสำเร็จของคุณ

สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณสามารถทำก่อนการตัดสินใจว่าจะขายอะไร ก็คือ การคิด

และยิ่งคุณคิดถึงสินค้าและบริการมากเท่าไรก่อนที่จะนำเข้าสู่ตลาด การตัดสินใจของสิ่งคิดไตร่ตรองมาอย่างดีแล้ว แน่นอนว่ามันก็จะเป็นอะไรที่ดีกว่า

แล้วเราจะเริ่มอย่างไรดี? 

เพื่อจะสร้างสินค้าให้ประสบความสำเร็จ คุณจะต้องมีความเป็นตัวของตัวเองและมีความมุ่งมั่นที่จะให้มันประสบความสำเร็จ เมื่อคุณมีสินค้าหรือบริการอยู่ในใจแล้ว คุณต้องเริ่มต้นวิเคราะห์มันด้วยตัวของคุณเอง
คำถามง่ายๆในการพิจารณาจากตัวของคุณเอง
  • สินค้าแบบไหนที่คุณชอบ ที่คุณสนุกกับมัน ที่คุณบริโภค หรือได้รับประโยชน์จากมัน?
  • คุณชอบในสินค้าหรือบริการที่คุณกำลังวางแผนจะขายหรือไม่ ?
  • คุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังตื่นเต้นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนี้หรือไม่ ?
  • แล้วคุณจะซื้อมันและก็ใช้มันไหมหละ ?
  • หรือคุณจะซื้อมันให้แม่ของคุณ เพื่อนที่ดีที่สุดของคุณ หรือ เพื่อนบ้านคุณไม๊ ?
  • คุณสามารถมองเห็นภาพของตัวเองที่กำลังขายสินค้าหรือบริการนี้ในอีก 5 ถึง 10 ปีข้างหน้าไหม ?
  • ตกลงว่านี่คือสินค้าหรือบริการที่คุณปราถนาอย่างแรงกล้าที่จะนำมันสู่ตลาดแล้วใช่ไหม?
หลังจากนั้นก็ลองวิเคราะห์สินค้าหรือบริการในมุมมองของลูกค้าดู
  • อะไรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้ ที่มันจำเป็นต่อลูกค้า หรือไม่จำเป็นต่อลูกค้า?
  • แล้วผลิตภัณฑ์นี้มันจะช่วยให้ชีวิตหรืองานของลูกค้าให้ดีขึ้นได้อย่างไร ?
  • ลูกค้าแบบไหนที่คุณกำลังจะขายผลิตภัณฑ์ให้ ?
  • คุณแน่ใจหรือไม่ว่าคุณชอบในลักษณะของลูกค้าที่กำลังซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ?
คราวนี้ให้ลองจินตนาการว่าคุณกำลังจ้างที่ปรึกษาด้านการบริหารเพื่อให้คำแนะนำในการแนะสินค้าหรือบริการใหม่ พวกเขากำลังตัดสิทธิในการไล่ล่าของคุณและถามคุณถึงวัตถุประสงค์จริงๆของคุณ โดยใช้คำถามเหล่านี้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ 
  • มันมีความต้องการสินค้านี้จริงๆ สำหรับราคาสินค้าที่คุณตั้งไว้ใช่ไหม ?
  • มันมีความต้องการที่มากพอสำหรับให้คุณทำกำไรใช่ไหม ?
  • ถ้าคุณคิดว่าความต้องการมันมีเพียงพอหละก็ คุณก็จะยอมจ่ายเงินจำนวนที่เหมาะสมสำหรับ การทำโฆษณา ค่าใช้จ่ายในการขายและส่งมอบสินค้าใช่ไหม ?
ขุดให้ลึกลงไปถึงศักยภาพของความสำเร็จของสินค้าหรือบริการของคุณโดยการตอบคำถามสำคัญเหล่านี้ให้ชัดเจน : 
  • อะไรคือสิ่งที่จะถูกขาย? อธิบายผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจนในแง่ของลูกค้า 
  • จะขายไปยังใคร? อธิบายถึงลูกค้าในอุดมคติ.
  • จะตั้งราคาสำหรับผลิตภัณฑ์นี้เท่าไหร่เพื่อให้ได้ผลกำไร?
  • ใครจะเป็นคนขายสินค้านี้ ?
  • สินค้านี้จะถูกขายไปอย่างไร? วิธีการขาย หรือ การส่งเสริมการขายแบบไหนที่คุณจะใช้?
  • สินค้าหรือบริการนี้จะผลิต/สร้างอย่างไร?
  • สินค้าหรือบริการนี้จะได้รับชำระเงินอย่างไร และจากใคร?
  • สินค้าหรือบริการนี้จะถูกส่งมอบให้ลูกค้ายังไง?
  • จะให้บริการหลังการขาย การซ่อมแซม การการันตีสินค้า หรือ การเปลี่ยนสินค้าอย่างไร?
จนถึงตอนนี้ ยังไม่เสร็จทั้งหมด และนี่คือชุดคำถามเพิ่มเติมที่คุณต้องถามก่อนที่คุณจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการเสนอสินค้าและบริการ : 
  • มันมีความต้องการสินค้าหรือบริการในตลาดปัจจุบัน จริงๆใช่ไหม?
  • มันเป็นสินค้าหรือบริการใหม่ของคุณที่มันจะดีกว่าบางอย่างที่มันมีอยู่แล้วในตอนนี้ใช่ไหม?
  • มันมีอะไรเหนือชั้นกว่าคู่แข่งของคุณสัก 3 อย่าง ?
  • สินค้าของคุณราคาถูกกว่า หรือไม่ก็มีคุณภาพมากว่าสิ่งที่มันเป็นอยู่รึเปล่า?
  • คุณคิดหรือไม่ว่าคุณจะกลายเป็นผู้จัดจำหน่ายอันดับ 1 ของตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการนี้หรือไม่ ?
สำหรับสินค้าหรือบริการที่มันจะประสบความสำเร็จได้ มันจะมีลักษณะประมาณนี้
  1. ต้องเป็นสินค้าหรือบริการที่ใช่ 
  2. ต้องถูกขายในเวลาที่ใช่ 
  3. ต้องส่งมอบให้แก่ลูกค้าที่ใช่ และอยู่ในตลาดที่ใช่ 
  4. ต้องถูกผลิตและขายจากบริษัทและผู้คนที่ใช่
และสิ่งที่คุณต้องตัดสินใจสุดท้ายนี้ คือ มันคือผลิตภัณฑ์ที่ใช่ สำหรับคุณแล้วใช่ไหม?

และนี่คือสินค้าและบริการที่ใช่ของเรา
โต๊ะโรงอาหาร ,  โต๊ะนักเรียน , ตกแต่งภายใน  

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)



การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis) 

เป็นการนำรายการต่างๆ ในงบการเงินมาเทียบอัตราส่วนเพื่อหาความสัมพันธ์ว่า มีความเหมาะสมเพียงใด การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน 4 ประการ
1. การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratio)
2. การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio)
3. การวิเคราะห์ความสามารถ (ประสิทธิภาพ) ในการดำเนินงาน (Efficiency Ratio)
4. การวิเคราะห์โครงสร้างของเงินทุนหรือภาระหนี้สิน (Leverage Ratio or Financial Policy Ratio)

1.การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratio) 
1.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio)
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) /หนี้สินหมุนเวียน (CL)
วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าค่าที่คำนวณได้สูงเท่าใด แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ประกอบไปด้วย เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือมากกว่าหนี้ระยะสั้น ทำให้คล่องตัวในการชำระหนี้ระยะสั้นมีค่อนข้างมาก โดยปกติ อัตราส่วน 2 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว
1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio or Acid Test Ratio)
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ) /หนี้สินหมุนเวียน
หรือ( Quick Ratio = CA - Inventory )/CL
เป็นการวัดส่วนของสินทรัพย์ที่ได้หักค่าสินค้าคงเหลือ ที่เป็นสินทรัพย์ระยะสั้นและมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ต่ำสุดออก เพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการได้ โดยปกติอัตราส่วน 1 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว

1.3 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
A/R Turnover = ขายเชื่อสุทธิ หรือใช้ยอดขายรวม (ครั้ง หรือ รอบ) /ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย
ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย = (ลูกหนี้ต้นงวด + ลูกหนี้ปลายงวด )/ 2
หากค่าที่คำนวณได้ มีค่าสูง แสดงถึงความสามารถในการบริหารลูกหนี้ให้แปลงสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว

1.4 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period)
ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Avg. Collection Period) (วัน) = 365 วัน /อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้
ยิ่งต่ำยิ่งดี
แสดงให้เห็นถึงระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ว่าสั้นหรือยาว เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้
ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้ และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ

1.5 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) = ต้นทุนสินค้าขาย (COGS) /สินค้าคงเหลือเฉลี่ย (Avg. Inventory)
สินค้าคงเหลือเฉลี่ย =( สินค้าต้นงวด + สินค้าปลายงวด )/ 2
หากค่าคำนวณได้สูง ย่อมแสดงถึงความสามารถในการบริหารการขายสินค้าได้เร็ว

1.6 ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า
ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า(วัน) = 365 (วัน) /อัตราหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover)
ยิ่งขายได้เร็ว (ระยะเวลาสั้น) ยิ่งดี

2.ความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) 
1.1 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
1.2 อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin)
1.3 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)
1.4 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return On Equity or ROE)

อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)(%) = ขายสุทธิ - ต้นทุนขาย หรือ SALES - COGS / ขายสุทธิ SALES
= กำไรขั้นต้น หรือ Gross Profit /ขายสุทธิ SALES
ยิ่งสูงยิ่งดี

อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน(Operating Profit Margin)(%) = กำไรจากการดำเนินงาน(Operating Profit Margin) /ขายสุทธิ (SALES)
ยิ่งสูงยิ่งดี

อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)(%) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /ขายสุทธิ (SALES)
ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมทั้งภาษีเงินได้หมดแล้ว

ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE %) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity)
ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงให้เห็นว่าเงินลงทุนในส่วนของเจ้าของ จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจากการดำเนินการของกิจการนั้นในอัตราส่วนเท่าไร หากมีค่าสูง แสดงถึงประสิทธิภาพในการหากำไรสูงด้วย

Dupont Equation
ROE (%) = NP (or EAT) = (EAT/SALES) (SALES/ASSETS) (ASSETS/EQUITY) /Equity
หรือ ROE (%) =รายได้จากการขาย สินทรัพย์ทั้งหมด= กำไรสุทธิ X รายได้จากการขาย X สินทรัพย์ทั้งหมด / ส่วนของผู้ถือหุ้น
= (ความสามารถในการหากำไร) (การใช้เงินทุน) (ความสามารถในการหาทุน)
หรือ สมการนี้เท่ากับ
ROE (%) = (Net Profit Margin) (Total Asset Turnover) (Financial Leverage)

3. อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency Ratio) 

อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA)(%) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /สินทรัพย์รวม (Total Assets)
ยิ่งสูงยิ่งดี เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ธุรกิจใช้ในการดำเนินงาน ว่าให้ผลตอบแทนจากการดำเนินงานได้มากน้อยเพียงใด หากมีค่าสูง แสดงถึงการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ

อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (ROFA) = กำไรสุทธิ (Net Profit or NP) /รวมสินทรัพย์ถาวร (Fix Assets)
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)(ครั้ง) = ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset)
ยิ่งสูงยิ่งดี

อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover)
อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) (ครั้งหรือเท่า) = ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์รวม (Total Assets)

จำนวนครั้งสูง ดี เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด (TA) เมื่อเทียบกับยอดขาย (SALES) ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ

4. อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Leverage Ratio or Financial Ratio) 

เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของเงินทุนว่ามาจากหนี้สินหรือส่วนของเจ้าของ ว่ามีมากน้อยเพียงใด
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity Ratio) (เท่า) = หนี้สินรวม (Total Debt) /ส่วนของเจ้าของ (Equity)
ยิ่งต่ำ ยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในด้านเจ้าหนี้และเจ้าของกิจการ ถ้าอัตราส่วนสูง
แสดงว่า กิจการมีความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ

ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) (เท่า) = {กำไรสุทธิ (NP) + ภาษีเงินได้ (Tax) - ดอกเบี้ยจ่าย(Interest)} /ดอกเบี้ยจ่าย (Interest)
เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง

อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout) = เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend /share) /กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)
แสดงถึงนโยบายการจ่ายเงินปันผลของธุรกิจ

อัตราส่วนที่กล่าวมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน เพื่อท่านจะได้พิจารณางบการเงินได้ในระดับหนึ่ง


สัญญาณเตือนภัยจากการวิเคราะห์งบการเงิน
1.ขาดทุนมากๆ และติดต่อกันหลายปี
2.ระยะเวลาการเก็บหนี้นานขึ้น
3.อัตราหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของสูงขึ้นเร็วมาก
4.สินค้าคงคลังสูงมากผิดปกติ
5.ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
6.ยอดขายสูงขึ้น แต่กำไรลดลง
7.หนี้สูญเพิ่มขึ้น
8.รายงานผู้สอบบัญชีผิดปกติ เปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่
9.ขายสินทรัพย์ของบริษัท เพื่อสร้างกำไรให้เข้าเป้าในระยะสั้น

Growth Stock

หุ้นที่มีกำไรเติบโต (Growth Stock) นับว่าเป็นหุ้นที่ทำกำไรให้กับนักลงทุนดีที่สุดประเภทนึง เพราะหุ้นกลุ่มนี้นอกจากจะมีกำไรที่เติบโตขึ้นรวดเร็วแล้ว ตลาดมักจะให้ราคาหุ้นประเภทนี้สูงกว่าตลาดด้วย อย่างไรก็ตาม ก็ใช่ว่าทุก Growth Stock จะดีเหมือนกันทุกบริษัท หลายบริษัทที่ตอนแรกๆอาจจะดูเหมือนเป็น “หุ้นเติบโต” แต่พอเวลาผ่านไปกลับกลายเป็น “หุ้นติดดิน”

คำถามที่นักลงทุนทุกคนควรจะต้องถามคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Growth Stock ตัวไหนจะสามารถเติบโต “ได้จริง” อย่างมีคุณภาพ

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจถึงประเภทของการเติบโตก่อน ผมขอจับไว้เป็นคู่ๆเพื่อให้เข้าใจง่ายแล้วกันครับ

Volume Growth vs. Price Growth

ในบางธุรกิจที่มีอำนาจในการต่อรองราคาของบริษัทต่อลูกค้าสูง (High Negotiating Power) จะสามารถปรับราคาสินค้าขึ้นได้ทุกปี ตัวอย่างเช่นกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาล ร้านสะดวกซื้อ การเติบโตจากการเพิ่มขึ้นของ “ราคา” สามารถทำได้ง่ายกว่าการเติบโตของ “ปริมาณการขาย” มากเพราะแทบจะไม่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเลย ในขณะที่การขยายกำลังการผลิตหรือการให้บริการต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีความเสี่ยงในการที่จะต้องหาลูกค้าเพิ่มขึ้นเพื่อมาซื้อสินค้่า


อย่างไรก็ตามการเติบโตจากการขึ้นราคาอาจจะมีข้อจำกัดจากเรื่องการแข่งขัน กฏหมายควบคุมราคา (เช่นในกรณีร้านสะดวกซื้อ) หลายบริษัทจึงใช้วิธีในการปรับ Product Mix เพื่อเพิ่มราคาสินค้าแทน เช่นธุรกิจโรงพยาบาลที่ มีการนำเสนอแผนการรักษาใหม่ๆ หรือเน้นการให้การรักษาในโรคร้ายแรงมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ยอดค่าใช้จ่ายต่อคนสูงขึ้น

Industry Growth vs. Market Share Growth

ธุรกิจที่อยู่อุตสาหกรรมที่เติบโตเร็ว เช่นธุรกิจที่มี penetration rate ต่ำๆ และมีปัจจัยทางโครงสร้างเอื้อหนุน จะสามารถสร้างรายได้และกำไรให้เติบโตได้ง่ายกว่าธุรกิจที่เติบโตด้วยการแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตช้า เพราะในอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็ว ความจำเป็นในการแข่งขันในด้านราคาจะมีน้อย อีกทั้งต้นทุนในการหาลูกค้ารายใหม่ๆถูกกว่า เพราะไม่ต้องแย่งลูกค้ากัน

ในทางตรงกันข้ามการที่บริษัทผลิตกระเบื้องแห่งหนึ่งมีแผนที่จะเพ่ิมส่วนแบ่งการตลาด 1% ทุกปี (ตลาดกระเบื้องเติบโตในระดับใกล้เคียงกับ GDP ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ) การเติบโตอาจจะทำได้จริงแต่อาจจะไม่ยั่งยืนเนื่องจากคู่แข่งรายอื่นๆก็จะไม่ปล่อยให้บริษัทถูกแย่งส่วนแบ่งการตลาดไป การแข่งขันจะรุนแรงยิ่งขึ้นถ้าอุตสาหกรรมนั้นๆเติบโตได้ช้า เพราะบริษัทต้องดิ้นรนมากขึ้นเพื่อที่จะเพิ่มยอดขายให้ทันกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกๆปี อาจจะเกิดภาวะที่เรียกว่าสงครามราคา (Price War) ได้ ซึ่งจะมีผลแย่ต่อทุกบริษัทในอุตสาหกรรมนั้นๆ

One-off vs. Recurring

ธุรกิจที่เติบโตแบบครั้งเดียวจบ หมายถึงธุรกิจที่มีลักษณะการรับงานแบบเป็น Project มีสัญญาที่ระยะเวลาสั้นๆ งานที่ได้รับในปีนี้จะไม่ได้รับการการันตีอีกในปีหน้า (คือรับงานเป็นปีๆไป) มีจำนวนลูกค้าน้อยราย หรือ ปริมาณความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ตัวอย่างเช่น ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจรับจ้างผลิตต่างๆ ธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กโทรนิกส์ เกษตร รถยนต์ โฆษณา เป็นต้น

สำหรับการเติบโตแบบยั่งยืน คือการเติบโตของกำไรที่ต่อยอดไปเรื่อยๆจากการขยายสาขา ขยายฐานลูกค้าที่มีสัญญาในระยะยาวกับบริษัท เช่นธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภค (มีลูกค้าหลายแสนราย จึงมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่า)

Existing vs. New Business

ในปัจจุบันหลายธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ อยู่ใน Sunset Industry หรือธุรกิจที่กำลังตกต่ำ ฉะนั้นหลายบริษัทจึงพยายาม “แตกไลน์ธุรกิจ” ไปยังโอกาสใหม่ๆ ในการคาดการณ์การเติบโตของบริษัท นักลงทุนต้องมองให้ออกว่า แผนการเติบโตของบริษัทมากจากธุรกิจใด หลายครั้งที่ทางผู้บริหารอาจจะไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวธุรกิจใหม่อย่างเพียงพอ (ไม่ใช่ไม่เก่งแต่อาจจะไม่มีประสบการณ์) ผู้บริหารจึงไม่สามารถคาดการณ์ถึงการแข่งขันที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงถึงอุปสรรคต่างๆในการทำธุรกิจ จึงทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้

นอกจากการขยายไปยังธุรกิจใหม่แล้ว การขยายไปยังตลาดใหม่ๆก็นับว่ามีความเสี่ยงเช่นกัน หลายบริษัทเลือกที่จะขยายกิจการไปต่างประเทศ (โดยไม่ได้มีประสบการณ์ในประเทศนั้นๆมาก่อน) มักจะประสบกับปัญหาต่างๆ เช่น ความล่าช้าของการขอใบอนุญาต/การก่อสร้าง สินค้าไม่ถูกใจลูกค้าในประเทศนั้นๆ ซึ่งมักจะทำให้รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และมักจะมีผลขาดทุน

Small vs. Large

Peter Lynch เคยบอกไว้ว่าในระยะยาวแล้วหุ้นขนาดเล็กจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นขนาดใหญ่เนื่องจากสามารถเติบโตได้ในอัตราที่สูงกว่าในระยะยาว เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากจะหาหุ้นมีอัตราการเติบโตที่สูงอาจจะต้องหาจากบริษัทที่มีขนาดเล็ก (ทั้งในเชิงมูลค่าตลาด ยอดขาย ส่วนแบ่งการตลาด รวมถึงอัตราในการทำกำไร) ซึ่งจะมีโอกาสในการเติบมากกว่าบริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่า อย่างไรก็ตามธุรกิจขนาดเล็กก็อาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าธุรกิจที่ครองความเป็นเจ้าตลาดมาเป็นระยะเวลานาน

Top line vs. Bottom Line

ประเด็นนี้จะเป็นประเด็นที่นักลงทุนมักจะมองข้าม เพราะหลายๆครั้งการเติบโตของยอดขายต้องแลกมาด้วยการให้โปรโมชั่นเยอะๆ (ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง) ค่าใช้จ่ายการตลาดที่เพิ่มขึ้น เงินลงทุนในเครื่องจักรหรือขยายสาขาใหม่ (ที่มาพร้อมค่าเสื่อมที่เพิ่มขึ้น) การที่ยอดขายเติบโตแต่กำไรไม่โตตามอาจจะเป็นเพราะบริษัทอยู่ในอุุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง คู่แข่งรายใหม่อาจจะอยากได้ส่วนแบ่งการตลาดโดยไม่สนใจภาพรวมของอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น บริษัทสื่อสารที่ตัดสินใจลดราคา เพื่อดึงลูกค้าใหม่ๆ ทำให้มีผลต่อการปรับราคาของคู่แข่งรายอื่นๆ

เงินลงทุนก็เป็นประเด็นสำคัญ ฉะนั้นทุกครั้งที่ผู้บริหารเล่าถึงแผนที่จะขยายธุรกิจเราก็ต้องอย่าลืมที่จะถามถึงค่าใช้จ่ายหรือเงินลงทุนที่ต้องใช้ด้วย ถ้าเราอยากรู้ว่าเงินลงทุนอันนั้นจะมีผลต่อกำไรในอนาคตอย่างไร ก็ต้องประเมินว่าปรกติแล้วสินทรัพย์นั้นๆตัดค่าเสื่อมกี่ปี (ส่วนใหญ่ผู้บริหารจะตอบถ้าเราถาม) เราก็พอจะรู้คร่าวๆว่ากำไรที่ได้มาเพิ่มจะคุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีหรือเปล่า

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ…

การเติบโตของบริษัทล้วนแต่เป็นการ “คาดการณ์อนาคต” ซึ่งจะแม่นยำหรือไม่ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้บริหารที่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ตามความเป็นจริง สามารถ “ทำ” ได้เท่ากับที่ “พูด” ซึ่งการที่จะดูให้ได้อย่างนั้นเราต้องมองย้อนไปในอดีต ตัวอย่างเช่นบริษัทผลิตอาหารทะเลแห่งหนึ่งที่เคยบอกไว้ว่าจะมียอดขายหลายพันล้านเหรียญ ภายในปีนั้นปีนี้ แล้วทำได้ตรงตามที่สัญญาไว้ตลอด เรียกได้ว่าพูดคำไหนคำนั้น


credit : http://www.thaivi.org/หุ้น-เติบโต-หรือ-ติดด/

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

จัดกระบวนทัพ ปรับกระบวนท่า เพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กร ตอนที่ 1

สำหรับในยุคปัจจุบัน ที่เศรษฐกิจดูไม่ค่อยจะดีสักเท่าไหร่ บริษัทและองค์กรทั้งหลายต่างปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่ปริมาณลูกค้าดูจะน้อยลง ส่วนบริษัทที่ขายสินค้าหรือบริการที่เหมือนๆกันดูจะเพิ่มขึ้น

องค์กรใดสามารถ ปรับเปลี่ยนกระบวนการให้มีประสิทธิภาพได้มากกว่า ก็ช่วยให้องค์กรนั้นได้เปรียบในด้านการแข่งขันเชิงธุรกิจที่มากกว่าไปด้วย

โดยการจัดทัพ ปรับกระบวนท่าของเรา ขอกระจายออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ

1. มุมมองของการออกแบบกระบวนการ (Process Design Perspective)

่ก่อนทำการออกแบบนั้น เราต้องหันมาพิจารณาสิ่งที่เรามีซะก่อน แบบที่ในซุนวูได้กล่าวเอาไว้ในตำราพิชัยสงครามว่า "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง"  ดังนั้นก่อนจะเราควรที่จะรู้จักตนให้ดีเสียก่อนว่า องค์กรเรามีอะไร ที่จะไปแข่งกับคนอื่นบ้าง โดยกูรูต่างๆ เขาสร้างเครื่องมือมาให้เรานำมาใช้วิเคราะห์ตัวตนของเรา อาทิ

  • 5W1H : เครื่องมือตัวนี้ใช้วิเคราะห์ปัญหา ดังนั้นเราสามารถเอามาประยุกต์ใช้เพื่อวิเคราะห์องค์กรของเราเอง ว่า ตอนนี้ เราทำอะไร - มีอะไร (what) อยู่ที่ไหน-ตลาด-แหล่งวัตถุดิบ (where) ขาย-ซื้อ-credit เมื่อไหร่ (when)  ใครคือลูกค้าเรา (who) เราทำมันอย่างไร (how) เมื่อท่านเข้าใจตัวเองแล้วก็สามารถ ออกแบบเพื่อจะปรับตัวเองให้เหมาะสม สอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • SWOT : เพื่อหาจุดอ่อน-จุดแข็ง ของตัวเอง หากตัวเองไม่มีจุดแข็ง อาจจะถอยออก หรือหากมองเห็นโอกาส (Opportunity)  ก็เร่งหาจุดแข็งมาเสริม แต่ถ้ามีแต่จุดอ่อนและภัยคุกคาม (Threat)  ก็ถอยออกได้เลยครับ เดินไปต่อก็เสียกับเสีย

จากนั้นก็ลองมาสร้าง แผนภาพความสัมพันธ์ของกระบวนการภายในองค์กร เพื่อจัดทำข้อกำหนดของกระบวนการให้ชัดเจน เพื่อสร้างความเข้าใจในหน้าที่และรายละเอียดของงาน ให้กับพนักงานทุกคน ทุกระดับชั้น เพื่อให้งานแต่ละส่วนดำเนินการไปได้อย่างถูกต้อง ตรงตามเป้าหมาย ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้ตั้งไว้ และต้องนำข้อกำหนดต่างๆที่ระบุไว้ของแต่ละกระบวนการ มาสร้างเป็นตัวชี้วัด (KPI) ในการทำงานด้วย ซึ่งสิ่งนี้จะถูกใช้เป็นกรอบเพื่อออกแบบในรายละเอียดของกระบวนการได้อีกด้วย

หลังจากออกแบบกระบวนการ ตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้แล้ว ก็นำขั้นตอนต่างๆเหล่านั้น มาดูว่าส่วนไหนควรจะต้องใช้แบบฟอร์ม หรือเอกสารอย่างไร , กำหนดทรัพยากรที่ต้องใช้ในกระบวนการเหล่านั้น , จัดตั้งผู้รับผิดชอบให้กับงาน , กำหนดวิธีควบคุมให้งานเป็นไปตามกำหนด , สร้างรูปแบบ วิธีที่จะใช้ในการตรวจสอบทั้งในแง่ของกระบวนการ และ ผลลัพท์ที่ได้จากกระบวนการ จากนั้นนำมาทดลองปฎิบัติและตรวจสอบ แล้วก็ปรับปรุงแก้ไขต่อไป

หลังจากกระบวนการต่างๆที่ได้ค่อนข้างจะเสถียรคือไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ่อยๆแล้ว สิ่งสำคัญที่จะต้องทำตามมาก็คือการจัดทำเป็นเอกสารมาตรฐานของการทำงาน  เพื่อบันทึกช่วยในการบริหารและใช้อ้างอิงสำหรับพนักงานที่เข้ามาใหม่ต่อไป

อ่านต่อตอนที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อช่วยเหลือผู้ตกงาน/ว่างงานของ สพภ. และ ศพจ.

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ช่วยเหลือผู้ที่ตกงาน ว่างงาน และบัณฑิตจบใหม่ ให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ ได้โดยเป็นการเพิ่มรายได้ และเป็นอีกอาชีพหนึ่งในการประกอบอาชีพ ซึ่งการฝึกอบรมอาชีพต่าง ๆ เหล่านี้ผู้ที่เข้ามาขอฝึกไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยมีกลุ่มอาชีพที่เปิดให้บริการเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานและเพิ่มอาชีพ อันได้แก่
หลักสูตรของ

1. ช่างก่อสร้างประกอบด้วย
 - ช่างไม้ก่อสร้าง ช่างไม้เครื่องเรือน
 - ช่างก่ออิฐ ช่างฉาบปูน ช่างปูกระเบื้อง
 - ช่างสีอาคาร ช่างสีเครื่องเรือน
 - ช่างท่อและสุขภัณฑ์ ช่างท่อประปา
 - ช่างประกอบโครงอะลูมิเนียม

2. ช่างเขียนแบบ ประกอบด้วย
 - ช่างเขียนแบบสถาปัตยกรรม
 - ช่างควบคุมงานก่อสร้าง
 - ช่างเขียนแบบพิมพ์โฆษณา
 - ช่างเขียนแบบเครื่องกล

3. ช่างกลโรงงาน ประกอบด้วย
 - ช่างกลึงโลหะ
 - ช่างปรับประกอบเครื่องกล ช่างเครื่องมือกล
 - ช่างแม่พิมพ์พลาสติก และช่างแม่พิมพ์ตัดโลหะ
 - การใช้โปรแกรม AutoCAD 2, 3 มิติ

4. ช่างเชื่อม ประกอบด้วย
 - ช่างเชื่อมไฟฟ้า
 - ช่างเชื่อมก๊าซ
 - ช่างผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น
 - ช่างเชื่อม TIG, MIG/MAC ช่างประกอบท่อ

 5. กลุ่มช่างยนต์ ประกอบด้วย
 - เทคนิคการติดตั้งก๊าซ LPG
 - การซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์
 - การซ่อมเครื่องยนต์เบนซินระบบหัวฉีด
 - การใช้และบำรุงรักษารถยนต์ใช้ก๊าซ NGV
 - ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์
 - ช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็ก

 6. ช่างไฟฟ้า ประกอบด้วย
 - ช่างเดินสายไฟในอาคาร
 - ช่างเดินสายไฟฟ้าอุตสาหกรรม
 - ช่างซ่อมอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
 - ช่างซ่อมตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ

 7. ช่างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
 - ช่างซ่อมวิทยุ ช่างซ่อมโทรทัศน์
 - ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ ช่างซ่อมเครื่องรับโทรทัศน์
 - ช่างเดินสายโทรทัศน์ตอนนอก
 - พนักงานบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ และเทคนิคการซ่อมโทรทัศน์เคลื่อนที่

 8. ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ ประกอบด้วย
 - ช่างเย็บจักรอุตสาหกรรม
 - ช่างเครื่องประดับ
 - ช่างครุภัณฑ์
 - การออกแบบ และตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

 9. ช่างธุรกิจและบริการ ประกอบด้วย
 - พนักงานฝ่ายแม่บ้านของโรงแรม พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม
 - แม่บ้านทันสมัย การประกอบอาหารไทย อาหารนานาชาติ
 - ช่างแต่งผมสุภาพบุรุษ-สตรี ผู้ดูแลเด็กและผู้สูงอายุ
 - พนักงานนวดสปาไทย นวดแผนไทย
 - พนักงานคาร์แคร์

ติดต่อ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.)  ได้ตามสาขาดังนี้

 1. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 1 จังหวัดสมุทรปราการ 1039 ม.15 ต.บางเสาธง กิ่ง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10452 โทร. 0-2315-3780-806 แฟกซ์ 0-2315-3800

 2. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 2 จังหวัดสุพรรณบุรี 13/1 บ้านหนองตาบกาบ ม.4 ต.ไฝ่ขวาง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000 โทร. 0-3541-2394-6 ต่อ 105 แฟกซ์ 0-3541-2400

 3. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 3 จังหวัดชลบุรี 145 ม.1 ถ.สุขุมวิท ต.หนองไม้แดง อ.เมือง จ.ชลบุรี 2000 โทร. 0-3827-6827, 0-3827-6445-6, 0-3827-6825 แฟกซ์ 0-3827-6445

 4. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 4 จังหวัดราชบุรี 113 ม.10 ถ.เขาวัง-บ้านน้ำพุ ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี 7000 โทร. 0-3233-7607-9, 0-3232-8557-60 แฟกซ์ 0-3223-7612 ต่อ 301, 0-3233-7607

 5. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 5 จังหวัดนครราชสีมา กม.205 ถ.มิตรภาพ ต.มิตรภาพ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา 30140 โทร. 0-4441-2646-7 แฟกซ์ 0-4441-2032

 6. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 6 จังหวัดขอนแก่น 151 ม.21 ถ.มะลิวัลย์ ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 4000 โทร. 0-4323-7960-1, 0-4323-7959, 0-4323-7802 แฟกซ์ 0-4323-7808

 7. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 7 จังหวัดอุบลราชธานี 300 ม.11 ถ.คลังอาวุธ ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทร. 0-4531-9550, 0-4531-9593 แฟกซ์ 0-4531-9555, 0-4531-9557

 8. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 8 จังหวัดนครสวรรค์ 159 ม.1 ถ.เอเชีย ต.นครสวรรค์ออก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 6000 โทร. 0-5625-5026 ต่อ 110 แฟกซ์ 0-5625-5330, 0-5625-5069

 9. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 9 จังหวัดพิษณุโลก 99 ม.6 ต.มะตูม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก 65150 โทร. 0-5529-9270-6 แฟกซ์ 0-5529-9227-8

 10. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 10 จังหวัดลำปาง 88 ถ.ลำปาง-เชียงใหม่ ต.ปงแสนทอง อ.เมือง จ.ลำปาง 52100 โทร. 0-5435-6681-2 ต่อ 101, 200 แฟกซ์ 0-5435-6680

 11. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี 433 ม.5 กม.20 ถ.สุราษฎร์-นาสาร ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84100 โทร. 0-7721-1503, 0-7721-1506 แฟกซ์ 0-7721-1504

 12. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 12 จังหวัดสงขลา 167 ม.4 ถ.สงขลา-นาทวี ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 90000 โทร. 0-7433-6050, 0-7433-6048, 0-7433-7042 แฟกซ์ 0-7433-6048-9, 0-7433-7042

ติดต่อ  ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.) ทั่วประเทศ ได้ที่นี่ 

 1. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน กรุงเทพมหานคร อาคารสิรินทรฤาชัย วัดธาตุทอง ถ.สุขุมวิท เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2391-1007 แฟกซ์ 0-2390-2212

 2. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดกระบี่ 245 ม.7 ถ.ท่าเรือ ต.ไสไทย อ.เมือง จ.กระบี่ 81000 โทร. 0-7561-1625-6, 0-7562-3782-3 แฟกซ์ 0-7561-1626

 3. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดกาญจนบุรี 99/9 ม.7 ต.หนองลาน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71130 โทร. 0-3453-1045 แฟกซ์ 0-3453-1045

 4. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดกาฬสินธุ์ 99 ถ.ขอนแก่น-ยางตลาด ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ 46120 โทร. 0-4389-1491 ต่อ 103 แฟกซ์ 0-4389-1492

 5. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดกำแพงเพชร 279 ถ.พรานกระต่าย-กำแพงเพชร ม.7 ต.ศรีโยธิน อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000 โทร. 0-5571-0212, 0-5571-0071 แฟกซ์ 0-5571-0072, 0-5571-0051

 6. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดจันทบุรี 49 ม.3 ถ.สุขุมวิท (สายเดิม) ต.บ่อ อ.ขลุง จ.จันทบุรี 22110 โทร. 0-3936-8266-8 แฟกซ์ 0-3936-8264

 7. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดฉะเชิงเทรา 59 ม.4 ถ.บางคล้า-แปลงยาว ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา 24190 โทร. 0-3885-1220-3 แฟกซ์ 0-3885-1220

 8. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดชัยนาท 447 ม.4 ต.เขาท่าพระ อ.เมือง จ.ชัยนาท 17000 โทร. 0-5641-4810, 0-5641-4801-7 แฟกซ์ 0-5641-4809

 9. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดชัยภูมิ ถ.ชัยภูมิ-บ้านตาดโตนด ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000 โทร. 0-4481-6023-4, 0-4482-2049 แฟกซ์ 0-4482-2070

 10. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดชุมพร 219 ม.10 ถ.ชุมพร-ปากน้ำ ต.ท่ายาง อ.เมือง จ.ชุมพร 86120 โทร. 0-7755-3009 ต่อ 101 แฟกซ์ 0-7755-3008

 11. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดเชียงราย 418 ม.6 ถ.ฝั่งหมิ่น-หนองบัวแดง ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 โทร. 0-5360-0315-17 ต่อ 103 แฟกซ์ 0-5360-0314

 12. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดเชียงใหม่ 335 ถ.เชียงใหม่-ฝาง บ้านศาล ม.3 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180 โทร. 0-5329-8240-1, 0-5329-8237 แฟกซ์ 0-5329-8243

 13. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดตรัง 252/6 ถ.ท่ากลาง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000 โทร. 0- 7521-6112-5 แฟกซ์ 0-7521-6115

 14. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดตราด 174 ม.3 ต.นนทรี อ.บ่อไร่ จ.ตราด 23140 โทร. 0-3952 1961-3 ต่อ 0,106 แฟกซ์ 0-3952-2042 ต่อ 107

 15. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดตาก 5 ม.9 ต.น้ำรึม อ.เมือง จ.ตาก 63000 โทร. 0-5551- 5248, 0-5551-5249 แฟกซ์ 0-5551-5248

 16. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนครนายก 248 ม.4 ต.ปากพลี อ.ปากพลี จ.นครนายก 26130 โทร. 0-3739-8460-2 แฟกซ์ 0-3739-8460

 17. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนครปฐม 135 ม.5 บ้านป่าแก ต.ลำเหย อ.ดอนตูม จ.นครปฐม 73150 โทร. 0-3420-4701-2 แฟกซ์ 0-3420-4699

 18. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนครพนม 19/4 ซ.สามัคคีสุขสันต์ ถ.นครพนม-ท่าอุเทน ต.ในเมือง จ.นครพนม 48000 โทร. 0-4251-1814, 0-4251-2841 แฟกซ์ 0-4251-1824

 19. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนครศรีธรรมราช 79 ม.1 ถ.นครศรี-ปากพนัง ต.บางจาก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80330 โทร. 0-7539-9297, 0-7539-9301 แฟกซ์ 0-7539-9297

 20. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนนทบุรี 62/4 ม.2 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140 โทร. 0-2592-4045-9 แฟกซ์ 0-2592-4045

 21. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนราธิวาส บริเวณศูนย์ราชการแปลงที่ 2 บ้านปลักปลา ต.ลำภู อ.เมือง จ.นราธิวาส 96000 โทร. 0-7353-2128-31 แฟกซ์ 0-7354-2066

 22. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดน่าน กิโลเมตรที่ 5-6 ถ.สายน่าน-ทุ่งช้าง ต.ผาสิงห์ อ.เมือง จ.น่าน 55000 โทร. 0-5477-4862-4, 0-5477-4861 แฟกซ์ 0-5477-4860

 23. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดบุรีรัมย์ ถ.บุรีรัมย์-ห้วยราช บ้านโคกเขาน้อย ม.4 ต.ห้วยราช อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ โทร. 0-4461-4937 แฟกซ์ 0-4465-8162

 24. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดปทุมธานี 2/89 ม.2 ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 โทร. 0- 2577-5867-9 ต่อ 102 แฟกซ์ 0-2577-5871

 25. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ม.3 ถ.คั่นกระได-ชายทะเล ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000 โทร. 0-3260-3197-201 ต่อ 101, 102 แฟกซ์ 0-3260-3201

 26. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดปราจีนบุรี 455 ม.6 รพช.บ้านสระดู่ ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี 25110 โทร. 0-3720-5800 แฟกซ์ 0-3720-5799

 27. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดปัตตานี 197 ถ.โรงเหล้าสาย ช.ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000 โทร. 0-7334-8548, 0-7334-8458 แฟกซ์ 0-7334-8126

 28. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 59/2 ม.4 ต.บางระกำ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทร. 0-3536-0631-5 ต่อ 124, 0 แฟกซ์ 0-3536-0631-5 ต่อ 104,105

 29. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดพังงา 168 ม.6 ต.ทับปูด อ.ทับปูด จ.พังงา 82180 โทร. 0-7659-9331-2, 0-7659-9335 แฟกซ์ 0-7659-9334

 30. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดพัทลุง 255 ม.9 ต.โตนดด้วน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 93100 โทร. 0- 7468-2163-6 แฟกซ์ 0-7468-2164

 31. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดพิจิตร 33 ม.2 ต.โรงช้าง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000 โทร. 0-5665 -5253-6 แฟกซ์ 0-5665-5256

 32. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดเพชรบุรี 58 ม.2 ถ.เพชรเกษม ต.เขาใหญ่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี 76120 โทร. 0-3247-0391-3, 0-3247-0306 ต่อ 22 แฟกซ์ 0-3247-0391-2 ต่อ 12

 33. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดเพชรบูรณ์ 237 ม.5 ถ.สระบุรี-หล่มสัก ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000 โทร. 0-5674-1323-30 แฟกซ์ 0-5674-1323

 34. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดแพร่ 165 ม.3 บ้านร่องกาศ ต.ร่องอากาศ อ.สูงเม่น จ.แพร่ 54130 โทร. 0-5454-3360-4 ต่อ 0, 120, 122 แฟกซ์ 0-5641-1323

 35. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดพะเยา 493 บ้านใหม่ ม.6 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000 โทร. 0-5446-6003, 0-5446-6004 แฟกซ์ 0-5446-6005

 36. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดพะยา 139 ม.4 ถ.เทพกระษัตรี ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 83110 โทร. 0-7627-3470-4 ต่อ 103,101 แฟกซ์ 0-7627-3473 ต่อ 102

 37. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดมหาสารคาม อาคารศูนย์ราชการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ถ.สารคาม-บรมือ ต.แก่งเสิงจาน อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000 โทร. 0-4377-7269, 0-4377-7270 แฟกซ์ 0-4377-7272

 38. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดมุกดาหาร 326 ม.2 บ้านสามขา ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร 49000 โทร. 0-4269-9270-72 แฟกซ์ 0-4269-9274

 39. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 69 ม.4 บ้านแม่สะกิ้ด ถ.แม่ฮ่องสอน-ขุนยวม ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 58000 โทร. 0-5368-6051-2 ต่อ 103, 0-5368-6050 แฟกซ์ 0-5368-6053

 40. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดยะลา ถ.ยะลา-รามัน ม.5 ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา 95140 โทร. 0-7322-9046 แฟกซ์ 0-7322-9042

 41. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดยโสธร 234 ม.1 บ้านกว้าง ต.เขื่องคำ อ.เมือง จ.ยโสธร 35000 โทร. 0-4571-4058-9 แฟกซ์ 0-4571-4060-1

 42. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดระนอง 400/12-14 ม.1 ถ.เพชรเกษม ต.บางบอน อ.เมือง จ.ระนอง 85000 (สำนักงานเช่า) โทร. 0-7782-4651-3 แฟกซ์ 0-7782-4653

 43. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดระยอง 22 ถ.ไอ-1 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ข้างสถานีไฟฟ้าย่อยมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง 21150 โทร. 0-3868-3198, 0-3868-3951 ต่อ 0,121,124 แฟกซ์ 0-3868-3199, 0-3868-3951-3

 44. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดร้อยเอ็ด 224 บ้านหนองยูง ม.7 ต.หนองแวง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000 โทร. 0-4352-5008 ต่อ 100-2 แฟกซ์ 0-4352-5008

45. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดลพบุรี 150 ม.3 ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี 15000 โทร. 0-3642- 6947 แฟกซ์ 0-3642-4945

46. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดลำพูน 129 ม.10 ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน 51000 โทร. 0- 5353-7697, 0-5353-7700 ต่อ 101-103 แฟกซ์ 0-5353-7696

47. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดเลย 323 บ้านเพีย ต.น้ำสวย อ.เมือง จ.เลย 42000 โทร. 0-4281 2930 ต่อ 101, 102 แฟกซ์ 0-4281-2850

48. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดศรีสะเกษ 320 ม.9 ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000 โทร. 0- 4561-5864-6 ต่อ 102, 101, 0-4561-1130 แฟกซ์ 0-4561-5866 ต่อ 107

49. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสกลนคร 8 ม.14 บ้านหนองแฝกพัฒนา ถ.นาคำ-นาเวง ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร. 0-4274-7252-3 ต่อ 11, 12, 0-4274-7302, 0-4274 -7198 แฟกซ์ 0-4274-7252

50. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสตูล 258 ม.2 ถ.คลองขุด-นาแค ต.คลองขุด อ.เมือง จ.สตูล 91000 โทร. 0-7473-0717 แฟกซ์ 0-7472-3763

51. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสมุทรสาคร 59/4 ม.1 บ้านพันธุวงษ์ ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 โทร. 0-3448-0139 ต่อ 17, 19 แฟกซ์ 0-3448-0139 ต่อ 42

52. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสมุทรสงคราม 190 ถ.เอกชัย ต.ลาดใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 75000 โทร. 0-3471-6119 แฟกซ์ 0-3471-1284

53. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสระบุรี 111 ม.1 ต.บ้านโปร่ง อ.หนองโดน จ.สระบุรี 18190 โทร. 0-3622-3347, 0-3623-6294, 0-3623-6293 แฟกซ์ 0-3622-3347, 0-3623-6294

54. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสระแก้ว 230 ม.11 ถ.วันา-แซร์ออ ต.วัฒนานคร อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว 27160 โทร. 0-3726-1627-29 แฟกซ์ 0-3726-1628

55. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสิงห์บุรี ม.3 ถ.สายเอเซีย ต.บางมัญ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี 16000 โทร. 0-3652-4206-8 แฟกซ์ 0-3652-4208

56. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสุโขทัย 69 ม.5 บ้านสามเรือน ถ.สรีสำโรง-ศรีนคร ต.สามเรือน อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย 64120 โทร. 0-5568-2586-7, 0-5568-2567 แฟกซ์ 0-5568-2567

57. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสุรินทร์ 421 ม.1 ถ.โชคชัย-เดชอุดม ต.บ้านชบ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ 32150 โทร. 0-4457-1552, 0-4457-1550 แฟกซ์ 0-4457-1551

58. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดหนองคาย 355 ม.14 ถ.หนองสองห้อง-ท่าบ่อ บ้านหนองสองห้อง ต.ค่ายบกหวาน อ.เมือง จ.หนองคาย 43100 โทร. 0-4249-5077-79 ต่อ 102,104 โทร. 0-4249-5078

59. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดหนองบัวลำภู 97 ม.7 บ้านโคกน้ำเกลี้ยง ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบังลำภู 39000 โทร. 0-4231-2869-71 ต่อ 11,12 แฟกซ์ 0-4231-2868

60. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดอ่างทอง 59 ม.4 ต.เทวราช อ.ไชโย จ.อ่างทอง 14140 โทร. 0 -3561-2455, 0-3563-9089 ต่อ 101 แฟกซ์ 0-3561-5907

61. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดอุดรธานี 578 ม.4 ต.บ้านจั่น อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 โทร. 0- 4234-1629 แฟกซ์ 0-4234-1630 ต่อ 106

62. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดอุตรดิตถ์ 201 ม.9 ถ.พิษณุโลก-เด่นชัย ต.น้ำริด อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000 โทร. 0-5541-6315, 0-5541-6211 แฟกซ์ 0-5541-6315

63. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดอุทัยธานี ม.2 ต.หนองไผ่แบน อ.เมือง จ.อุทัยธานี 61000 โทร. 0- 5651-4365-9 แฟกซ์ 0-5651-4368

64. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดอำนาจเจริญ 130 ม.3 ต.ไก่คำ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000 โทร. 0-4545-2441 แฟกซ์ 0-4545-2442

65. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนานาชาติเชียงแสน 222 ม.2 บ้านเวียงเหนือ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย 57100 โทร. 0-5377-7471-2 แฟกซ์ 0-5377-7472

66. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนานาชาติสงขลา 167 ม.4 ถ.สงขลา-นาทวี ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 9000 โทร. 0-7433-6052 ต่อ 131, 113 แฟกซ์ 0-7433-6048-9

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

ปัจจัย 9 เพื่อการติดอันดับใน Search Engine (Top 9 Positive Factors)

1. การสร้าง Inbound Link

ในการจะสร้างคะแนนของหน้าเพจ (Google Page Rank) การที่มี link เข้ามาสู่หน้าเพจนั้นๆจำนวนมากๆ (Backlink) รวมไปถึงการทำ Link ภายในตัวเว็บไซต์เองก็มีส่วนช่วยให้ได้รับคะแนนในการจัดอันดับสูงขึ้น

โดยเฉพาะการสร้าง Link ภายในเว็บไซต์เองก็ควรจะใช้ url แบบเต็ม ดังตัวอย่าง

<a href="http://www.tangyongfurniture.com">Home</a>

ดีกว่าที่จะใช้ Link แบบละ domain ไป

<a href="index.php">home</a>

เนื่องจาก bot กูเกิ้ลก็จะไม่นับคะแนนให้ในกรณีที่ 2 นี้


2. การสร้าง Inbound Link และ ลด Outbound Link

การที่มีลิ้งค์เข้ามาที่หน้าเพจตัวเอง เรียกลิ้งค์ประเภทนี้ว่า Inbound ส่วนลิ้งค์ที่ออกไปยังโดเมนของเว็บอื่นเรียกว่า Outbound Link 
ถ้าหากเว็บไซต์เรามี Inbound Link สูง แต่ Outbound Link สูง  กูเกิ้ลบอทจะมองเราว่า เราคือทางผ่าน ไม่ใช่เว็บไซต์ที่จะมีข้อมูลที่คนค้นหาต้องการจริงๆ

วิธีที่จะทำ Link Outbound โดยไม่ให้ google bot เข้าใจว่าเราเป็นทางผ่านคือการใช้ Attribute : Nofollow บริเวณที่ทำลิ้งค์ เพื่อแจ้งบอทว่าไม่ต้องติดตามไปยังหน้าเพจเหล่านั้น

3. การใส่ Keyword ใน Title Tag

การใส่ keyword ใน ส่วน HTML Header ยังคงมีความสำคัญต่อการทำ SEO อย่างมาก ตั้งแต่การสร้างเว็บไซต์ในยุคแรกๆ ตราบจนถึงปัจจุบัน

4. อายุของโดเมน

เนื่องจากโดเมนของเว็บไซต์ใดๆก็ตามที่อยู่มานาน โดยไม่มีการเปลี่ยนเจ้าของโดเมน นั่นหมายถึงการสร้างความน่าเชื่อถือต่อกูเกิ้ล (ไม่แน่ใจว่าให้คะแนนมากแค่ไหน แต่เอาเป็นว่ามันมีผลหละ)

5. ความถูกต้องของการสร้างลิ้งค์

สำหรับเว็บไซต์ที่มี Internal Link เยอะๆ การชี้ลิ้งค์ไปยังหน้าเพจใดก็ตาม ควรจะชี้ไปยังจุดที่มีข้อมูลที่เหมาะสมกับคำค้นนั้นจริงๆ คิดง่ายๆว่า ถ้าเราทำตัวเป็นกูเกิ้ล เราก็อยากให้ผู้ใช้งาน Search Engine เข้าถึงข้อมูลที่ตรง แม่นยำ ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ฉะนั้นการสร้างลิ้งค์ไปหน้าเพจใดๆก็ควรทำให้ถูกต้องเหมาะสมกับข้อมูลด้วย

6. ความน่าเชื่อถือของ BackLink

ถ้าลิ้งค์ที่ทำการเชื่อมโยงเข้าสู่เว็บเพจของเราเป็นเว็บที่มีความน่าเชื่อถือสูง แน่นอนเราย่อมได้อานิสงค์ของความน่าเชื่อถือเหล่านั้น เช่น ถ้าคุณได้รับการลิ้งค์มาจากเว็บดังๆ จะช่วยให้ rank ของเว็บคุณสูงขึ้นแน่นอนทีเดียวเชียว

7. ควรใส่ Keyword ในส่วนที่เป็นเนื้อหาจริงๆ

เนื่องจากการทำ SEO มีทั้งสายมืด (หลอกบอทเป็นนิจ คล้ายพวกเปิดบอทในเกมออนไลน์หลอกผู้เล่น) และสายสว่าง คือทำอย่างจริงๆจัง มีข้อมูลจริงที่ถูกต้อง ไม่ต้องหลอกบอท อาจจะใช้เวลาในการทำอยู่บ้าง แต่มันอยู่ยั้งยืนยงกว่า จริงๆนะ

8. ปริมาณลิ้งค์ที่เข้าสู่เว็บไซต์ (Quantity of BackLink)

นอกจากเรื่องของคุณภาพของลิ้งค์ที่เข้าสู่เว็บแล้ว ปริมาณก็มีผลต่อการยกระดับความน่าเชื่อถือของเว็บเราเองเช่นกัน แต่ระวังอย่าให้เป็นเว็บที่ถูกแบนมาลิ้งค์เข้าละกัน มันไม่ค่อยดี
นอกจากนั้น ลิ้งค์ที่มาจาก Unique IP หรือ IP ที่ไม่ซ้ำกัน จะยิ่งดี

9.  การสอดแทรก Keyword ตามที่ต่างๆ

อย่างเช่นในรูปภาพ อาจจะมีการใส่คำอธิบายที่มีการสอดแทรก keyword ลงไปด้วย หรือ การเน้นหัวข้อลิ้งค์ให้ดูเด่นแตกต่างก็มีผลต่อคะแนนที่ได้รับด้วย เช่น การใช้ Tag Header (H1,H2) สำหรับ keyword เป็นต้น

หากค่อยๆละเมียดละไม แก้ไขปรับปรุงเว็บของเราไปเรื่อยๆตามหลักการที่ดี แล้ว การติดอันดับในกูเกิ้ลสำหรับคำที่ต้องการก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม (แล้วแต่การแข่งขันของ keyword ด้วยนะ)

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลักการและหน้าที่ของฝ่ายจัดซื้อ

หลักการของการฝ่ายจัดซื้อ

1. การแบ่งกลุ่มของซัพพลายเออร์ (Supplier Classification)  
  • แยกประเภทของซัพพลายเออร์เป็น trading, autorized distributor, manufacturer และร้านค้าปลีก  
    • ศึกษาข้อมูลผู้ผลิตและผู้ขายอย่างละเอียด
  • การให้น้ำหนักการซื้อ เป็นการระบุถึงความเสี่ยงของซัพพลายเออร์แต่ละราย  เพื่อใช้ตัดสินใจในการเลือกที่จะสั่งสินค้า และช่วยลดความเสี่ยงจากการซื้อขาย
    โดย
    ความเสี่ยงของ supplier ที่อาจจะเกิดขึ้นได้แก่
    • ของไม่ตรงตามสเป็ค   
    • ของส่งไม่ตรงเวลา
    • การถูกยกเลิกออเดอร์กระทันหัน
  • มาตรการที่ใช้ลดความเสี่ยง
    • ความเสี่ยงที่ได้ของไม่ตรงสเป็ค - ฝ่ายจัดซื้อมีหน้าที่ในการจัดลำดับและระบุถึง Quality ของซัพพลายเออร์ , สำหรับซัพพลายเออร์ที่มีแนวโน้มว่าส่งของผิดสเป็คอยู่เป็นประจำ จะต้องระบุถึงความเสี่ยงที่รุนแรง และไม่ควรจะถูกสั่งซื้อ (ยกเว้นมันหาไม่ได้จริงๆ ก็ต้องรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้) 
    • ความเสี่ยงที่ สินค้าส่งไม่ตรงเวลา - ฝ่ายจัดซื้อมีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการที่ได้รับของจากซัพพลายเออร์ที่ส่งของไม่ตรงเวลา และเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อการขาย หรือ การผลิต,  ความเสี่ยงนี้จะทำให้ลดลงได้จากการที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี ได้แก่
      • การตั้งเวลาที่เหมาะสม - ถ้างานไหนไม่ชัวร์หรือมีความเสี่ยงในการได้รับสินค้าล่าช้า ต้องประสานงานให้ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อจะได้ทำการเลื่อนลูกค้าตั้งแต่ต้น
      • การติดตาม - การติดตามสถานะของสินค้าของซัพพลายเออร์จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง เช่น ขณะนี้งานไปถึงในขั้นตอนใด ประมาณการเวลาที่จะได้รับของยังตรงเวลาอยู่หรือไม่
      • การเผื่อเวลาไว้เล็กน้อย - แม้ว่าซัพพลายเออร์จะรับปากเรา แต่เราควรจะเผื่อเวลาไว้เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น ของผิดสเป็ค หรือ ของใช้งานไม่ได้ หากงานนั้นไม่ได้เป็นงานด่วนที่ลูกค้าไม่สามารถรอได้
    • ความเสี่ยง ของการถูกยกเลิกออเดอร์กระทันหัน - เป็นอุบัติเหตุของซัพพลายเออร์ แต่ฝ่ายจัดซื้อควรมีการตั้งแผนสำรองเช่น มีซัพพลายเออร์ที่สามารถใช้งานฉุกเฉินได้ในมือ อาจจะต้นทุนด้านราคาสูงกว่า แต่สามารถช่วยให้ส่งงานได้ทันที่รับปากลูกค้าไว้
ฝ่ายจัดซื้อมีหน้าที่รับผิดชอบในคุณภาพของการทำ Supplier Classification และส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของบริษัท หากมีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีผลเสียต่อบริษัทได้

2. การเจรจาต่อรอง สำหรับฝ่ายจัดซื้อนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากช่วยให้บริษัทมีผลกำไรมากขึ้น
แต่มีข้อที่ต้องควรระวังว่า การต่อรองที่มากเกินความเป็นไปได้  คุณอาจจะถูกย้อมแมวขายโดยไม่รู้ตัว  และเงื่อนไขบางอย่างที่สำคัญจะถูกลดทอนลง  เช่นการรับประกัน  การบริการหลังการขาย  ซึ่งการต่อรองนั้นจะต้องวางบนเหตุและผลที่เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด  เช่น หากต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง  ซึ่งเหมือนกันทุกอย่าง  แต่เจ้าหนึ่งรับประกัน 3 ปี  free off-charge ทุกอย่าง  อีกเจ้าก็ 4 ปี (แต่บนเงื่อนไขที่คุณเสียเปรียบในการเคลมอย่างมาก  เช่นต้องเสียค่าเคลมเอง  ค่าส่งที่ชาร์จแพง)  เพราะฉะนั้นการตัดสินใจเลือกแบบประกัน 3 ปี เรียกว่าเป็นการจัดซื้อที่ดี  
การจัดซื้อที่ดีไม่ใช่ซื้อของได้ถูก แต่ต้องได้ของที่คุ้มค่าที่สุด

3. การแบ่งสัดส่วนของออเดอร์ให้แก่ซัพพลายเออร์หลายราย  ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม  หากคุณต้องซื้อของปริมาณเยอะ ๆ และซื้อมาหมดไป  ต้องซื้อใหม่ตลอด (consume) คุณต้องเลี้ยงซัพพลายเออร์ไว้  เช่นว่า  แบ่งออเอร์เป็น 70% ให้เจ้าที่ถูกกว่า  และ 30% ให้เจ้าที่แพงกว่าเป็นอันดับสอง  เพราะหากเกิดกรณีที่เจ้าแรกของขาดสต๊อกกระทันหัน  คุณจะสามารถเรียกสินค้าสำรองจากบริษัทที่สองได้  ซึ่งจะลดการเกิดปัญหาต่อการผลิต  ถือว่าเป็นวิธีการทำที่ถูกต้อง  

แต่ในหลาย ๆ บริษัทที่มองว่าจะเอาแต่ของถูก  ซื้อ 100% จากซัพพลายเออร์ที่ถูกกว่า แต่พอของขาดจะมาเรียกเอาจากเจ้าที่สอง  เค้าก็ไมมีของให้  เพราะเค้าคิดว่าของชิ้นนี้เป็นของที่สต็อกไม่ได้ เพราะสต็อกสินค้าไปก็ขายไม่ได้ คราวนี้มันก็จะส่งผลต่อการผลิตหรือการขายของบริษัททันที

4. การประเมินค่า KPI ของซัพพลายเออร์แต่ละเจ้าทุกปี  โดยการประเมินแบบให้น้ำหนัก (ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์กรนั้น ๆ)  และการอัพเดทสถานะของซัพพลายเออร์  เพราะบางทีใกล้เจ๊ง  รับเงินวางดาวน์ไปแล้วปิดบริษัททิ้งซะงั้น (เช่นงานโครงการ)  คุณแหละคือคนถูกมองว่าผิดคนแรก

5. การหาซัพพลายเออร์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ  ไม่ใช่เพียงแค่องค์กรที่จะได้มูลค่าเพิ่มจากตัวคุณ แต่เป็นตัวของฝ่ายจัดซื้อเองที่จะมีคอนเนคชั่นใหม่ๆ และจะทำให้คุณมีคุณค่าต่อองค์กรสูงขึ้นอีกด้วย นอกจากการค้นหาซัพพลายเออร์ใหม่ๆแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในสินค้าและบริการต่างๆของซัพพลายเออร์ จะทำให้คุณกลายเป็นกำลังสำคัญขององค์กรทันที เนื่องจากคุณมีแนวทางที่จะใช้แก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าขององค์กรเป็นจำนวนมาก หรือพูดง่ายๆคือคุณจะกลายเป็นเสมือนที่ปรึกษาของบริษัทกันเลยทีเดียว ดังนั้นจงหมั่นศึกษาสินค้าและบริการให้มากที่สุด
เมื่อลูกค้าของเรามีปัญหา คุณจะเป็นคนแรก ที่ฝ่ายขาย ฝ่ายบริการลูกค้า จะเข้ามาปรึกษา

6.) การหาสินค้าเพื่อแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า โดยสินค้าที่จัดหาอาจจะช่วยในการ
ทดแทนสินค้าที่มีปัญหา  
- ทดแทนสินค้าหายาก ซึ่งสามารถใช้งานได้ไม่ต่างกัน 
- ทดแทนสินค้าที่มีราคาสูง แต่มีคุณภาพเหมือนๆกัน 
ดังนั้นคุณต้องรู้จักการทดแทนสินค้าโดยไม่ทำให้เสียคุณภาพเดิมไป จงเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ เพิ่มเติมทุกวันๆที่ทำงาน

6. อย่าตวาด  อย่าแสดงท่าทีหยาบคายต่อซัพพลายเออร์  หรือมองว่าเค้าไม่ใช่คน (หลายที่มองเซลเป็นหมาเลย)
เนื่องจากหน้าที่ของเรา จำเป็นต้องติดต่อกับผู้อื่น หากคุณต้องการให้ผู้อื่นปฎิบัติต่อเราเช่นไร เราควรปฎิบัติต่อเขาเช่นนั้น รู้จักการให้เกียรติ ปฎิบัติตัวต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพ และนั่นจะกลายเป็นอาวุธที่สำคัญของฝ่ายจัดซื้อเลย

การพูดจาด้วยความสุภาพ มิได้หมายความว่าคุณจะอ่อนแอ ตกเป็นเบี้ยล่างตลอด เพียงแต่คุณต้องไม่ใส่โทสะลงในการสนทนา ควรอาศัยความเด็ดขาดบนเหตุผลที่เหมาะสม  ไม่ดื้อดึงเอาแต่ใจ  เพราะเมื่อซัพพลายเออร์ไม่พอใจ  คุณอาจจะโดนเค้าก็เล่นงานคุณจนออกจากบริษัทได้ (อย่านึกว่าทำไม่ได้ครับ  มีหลายที่จัดซื้อร้องไห้ออกจากห้อง ผจก. ต่อหน้าเซลเลย) 


สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ของฝ่ายจัดซื้อ

 หากคุณกำลังทำงานอยู่ฝ่ายจัดซื้อ ลองมาทบทวนกันอีกครั้ง (กันลืม) ดีกว่า ว่าสำหรับในหน้าที่พนักงานฝ่ายจัดซื้อ มีอะไรบ้างคือสิ่งที่คุณควรปฎิบัติ (Do) และไม่ควรปฏิบัติ (Don’t)

 Do 
  1. เก็บทะเบียนประวัติและแคตตาล็อกสินค้าต่างๆ ของผู้ขาย
  2. กำหนดคุณลักษณะของสินค้าที่ต้องการให้แน่นอน โดยสอบถามรายละเอียดจากผู้ที่ต้องการใช้สินค้านั้นๆ ให้ครบถ้วน สิ่งที่ควรระบุ เช่น
    • ตราสินค้าหรือยี่ห้อสินค้า อาจระบุชื่อสินค้าไว้ประมาณ 2-3 ชื่อ พร้อมทั้งควรเปิดโอกาสให้กับตราสินค้าอื่นๆ โดยระบุว่า “หรือที่มีคุณภาพเทียบเท่า” 
    • บอกคุณลักษณะที่เฉพาะเจาะจง, มาตรฐานของสินค้า และข้อกำหนดต่างๆ ในการใช้งาน 
    • มีตัวอย่างสินค้าให้ผู้ขายดู 

  3. ศึกษาข้อมูลของชนิดของสินค้าที่ต้องการแล้วนำไปเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละตราสินค้าที่ผู้ขายนำเสนอมาอย่างถี่ถ้วน 
  4. หลีกเลี่ยงการสั่งซื้อของ “ด่วน” เพราะจะทำให้เราเป็นรองกับผู้ขายสินค้าทันที 
  5. มีแบบฟอร์มการสั่งซื้อที่เป็นมาตรฐาน 
  6. มีการบันทึกผล กำหนดการส่งของ เวลา จำนวนในการส่ง และการทำสัญญา 
  7. หาผู้ขายจากบันทึกที่เคยสั่งสินค้าด้วยกันทำให้ลดความเสี่ยงที่จะเจอผู้ขายที่ประวัติไม่ดี 
  8. ให้นโยบายการสั่งซื้อแก่ผู้ขาย ผู้ขายจะได้ปฏิบัติถูกต้อง 
  9. ออกเยี่ยมเยียนผู้ขายเพื่อเป็นการผูกสัมพันธ์ที่ดี และยังทำให้เราทราบถึงสภาพของกิจการของผู้ขายนั้นๆ อีกด้วย 
  10. จ่ายเงินให้ตรงเวลา 

Don’t 

  1. ไม่ควรกำหนดวันส่งมอบที่เป็นไปไม่ได้ เช่นสั่งเช้าต้องการตอนบ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นสินค้าบิ๊กล็อต 
  2. ไม่ควรเก็บสต็อคไว้มากๆ จะทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน และเปลืองเนื้อที่ 
  3. ไม่ควรเชื่อข่าวลือต่างๆ จากทางผู้ขายง่ายๆ ว่าสินค้ากำลังจะขึ้นราคาให้เรารีบสั่งซื้อสินค้ากักตุนไว้ ควรที่จะตรวจสอบที่มาของข่าวให้แน่ชัด 
  4. ไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงคำขอซื้อหรือข้อกำหนดต่างๆ โดยไม่จำเป็น 
  5. ไม่คาดหวังว่าผู้ขายจะส่งของได้ทันเวลาตลอดไป ควรมีแผนสำรองในกรณีที่ผู้ขายไม่สามารถส่งของได้ทันเวลา 
  6. ไม่ควรตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าโดยพิจารณาที่ราคาเพียงอย่างเดียว จงจำไว้ว่า “ของแพงไม่จำเป็นต้องดี และของดีก็ไม่จำเป็นต้องถูก” ลองพิจารณาจากหลายแง่มุม 
  7. จรรยาบรรณของฝ่ายจัดซื้อเป็นสิ่งสำคัญ อย่าตัดสินใจสั่งซื้อสินค้านั้นๆ เพียงเพราะว่าเป็นเพื่อนกันหรือทางผู้ขายให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่เรามากกว่าเจ้าอื่น

วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 118-122

:: พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 118-122 
 
:: หมวด 11 ค่าชดเชย 
มาตรา 118  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่ง เลิกจ้างดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบ หนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า ค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่ น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่ง ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่า ค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปีให้ จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่ น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับ ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5) ลูกล้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อย กว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ การทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
       การเลิกจ้างตาม มาตรา นี้ หมายความว่า การกระทำใดที่ นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะ เป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความ รวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
       ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะ เวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
       การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้ สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของ งานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนด การสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตาม ฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้อง แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็น ต้องตักเตือน
- หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวัน หยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 

มาตรา 120 ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตาม ปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยให้ลูกจ้างมีสิทธิ บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่ น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตาม มาตรา 118
      ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถาน ประกอบกิจการล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย พิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย สามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ด้วย
      ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำขอให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน พิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบ กิจการว่า เป็นกรณีที่นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือลูกจ้าง มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม วรรคหนึ่งหรือไม่
      คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ในกรณีที่นายจ้างเป็น ฝ่ายดำเนินคดีไปสู่ศาลนายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างที่ยื่นคำขอตามวรรคสาม จึงจะฟ้องคดีได้
      การบอกเลิกสัญญาจ้างตาม มาตรา นี้ ลูกจ้างต้องใช้สิทธิภาย ในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ หรือ นับแต่วันที่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานหรือ คำพิพากษาของศาลเป็นที่สุด 

มาตรา 121 ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือ การบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง ห้าม มิให้นำ มาตรา 17 วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้างแจ้งวันที่ จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงาน ตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า หกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง
      ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง นอก จากจะได้รับค่าชดเชยตาม มาตรา 118 แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่า ชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย หกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับ ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยด้วย
      ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย 
      
มาตรา 122  ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตาม มาตรา 121 และลูกจ้างนั้นทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตาม มาตรา 118 ไม่ น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการ ทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย คำนวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตาม มาตรา นี้รวมแล้วต้องไม่ เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้าง ของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้ รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
       เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะ เวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมาก กว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี 

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การสร้าง Backlink ง่ายๆ และเป็นธรรมชาติ แบบไม่มีค่าใช้จ่าย




1. Social Network
การใช้ Social Network ต่างๆ อาทิ Facebook, Twitter, Google+ ทั้งการตั้งค่าเว็บไซต์ของเราในส่วนของ Settings ให้ย้อนกลับมาที่เว็บไซต์เรา การสร้างลิงก์ การแชร์บทความ เว็บ Social Network ต่างๆ เหล่านี้ ค่า PR จะสูงมาก และถ้าเว็บของเราใช้ WordPress เป็น CMS ด้วยแล้ว จะมี Plugins ต่างๆ ให้เลือกใช้งานมากมายเลยทีเดียว
การทำ Backlink ด้วยวิธีง่ายๆ และดูเป็นธรรมชาติ แบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย
Social Network Application ในปัจจุบันมีเยอะแยะไปหมด
2. การสร้างบทความ (Blog)
....อาศัยการเขียนบทความดีๆ แล้วสร้างปุ่มแชร์ไปยัง Social Network ต่างๆ เช่น แชร์ไปยัง FacebookTwitter,Google+PinterestRSS Feed หรือแม้แต่ email พวกนี้ มีประโยชน์ทั้งนั้นครับ บทความบางเรื่อง ท่านอาจจะนำมารีไรท์ใหม่ในความคิดและมุมมองของท่าน ซึ่งตรงนี้ ก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ขอให้อ่านและเขียนใหม่ด้วยตัวของท่านเอง และเขียนเครดิตพร้อมสร้างลิงก์กลับไปยังเว็บไซต์นั้นๆ ด้วย
3. การสร้างคลิปวิดีโอ
.....ถ้าท่านมีความสามารถ อาจจะทำคลิปวิดีโอสั้นๆ แนะนำเนื้อหาของบทความที่ท่านเขียน และไปโพสต์ไว้ที่ YouTube กับ Vimeo ทั้งสองเว็บนี้ แล้วทำลิงก์ย้อนกลับมายังเว็บของท่านด้วย
4. การ Comment
.... เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสร้าง BackLink ที่ดี ทำได้โดยการไปยังเว็บที่มีเนื้อหาเดียวกัน แล้วเขียน Comment ในเว็บนั้นๆ แล้วใส่ลิงก์ของเว็บไซต์ท่านกลับมาด้วย แนะนำให้เขียนให้เป็นธรรมชาติ ในแง่บวก อาจจะชมเนื้อหาในบทความของเขา และชี้ชวนกลับมาอ่านเพิ่มเติมในเว็บของท่านก็ได้ครับ พยายามทำสักวันละ 2-3 เว็บก็พอ อย่างที่บอกข้างต้น ยิ่งถ้าได้เว็บที่มีนามสกุล .edu ก็จะยิ่งได้ความแรง ลองหาเว็บพวกนี้แล้วเข้าไปทิ้ง Comment ใน Guestbook หรือ Forum ของเขาแต่พองามครับ (inurl:.edu/guestbook, inurl:.edu/webboard. inurl:.edu/forum)
การทำ Backlink ด้วยวิธีง่ายๆ และดูเป็นธรรมชาติ แบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย
5. ใช้ประโยชน์จากเว็บ Bookmark ต่างๆ เช่น stumbleupon.comreddit.comdelicious.com,digg.compligg.com และอื่นๆ ที่มีอยู่มากมาย เลือกให้เหมาะกับเนื้อหาบทความของท่านเท่านั้นเอง
6. การ Submit บทความ
... บทความดีๆที่คุณเขียนเอง ควรจะ Submit ไปที่เว็บ Directory เช่น dmoz.orgehow.com เป็นต้น
7. การตอบกระทู้ + Signature
... หากคุณเป็นผู้ชื่นชอบในการตอบกระทู้แล้ว การใส่ลิงก์เว็บของท่านในลายเซ็นต์ Signature ในเว็บบอร์ดต่างๆ ที่ท่านเป็นสมาชิก ก็เป็นวิธีที่ดีเช่นกัน ยกตัวอย่างthaiseoboard.com ที่เป็นเว็บบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับการทำ SEO ที่ปัจจุบันได้ PR4 ไปแล้ว อีกทั้งเว็บบอร์ดอื่นๆ ที่มีอยู่มากมาย พยายามเลือกให้ตรงกับเนื้อหาบทความของท่านได้ จะยิ่งดี เข้าไปตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นของท่านสักวันละกระทู้ก็เพียงพอแล้วครับ
8. การแลกลิงก์ หรือขอให้เพื่อนๆ หรือคนรู้จักกันที่มีเว็บ สร้าง Text ลิงก์ชี้มายังเว็บของท่าน แต่อย่าลืมว่า ควรจะเป็นเว็บที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันนะครับ
ด้วยทุกวิธีที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ช่วยให้ท่านมี  Backlink ได้ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย จะทำทั้งหมดทุกวิธี หรือทำแค่บางส่วนก็เป็นผลดีทั้งนั้น แต่ขอให้เป็นเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันกับบทความของเว็บคุณซะหน่อย หาเวลาทำทุกๆ วัน คุณก็จะได้ Backlink กลับมาวันละหลายๆ ลิงก์ แล้วแต่ความขยันของคุณเองแล้วครับ
แต่ให้ระวังเรื่องของมารยาท  ถ้าคุณทำเว็บที่เป็นการค้า เช่น ขายเคสไอโฟน ไอแพด ก็ไม่ควรที่จะเข้าไป Comment สร้างลิงก์กลับจากเว็บที่เขาขายสินค้านั้นๆ แต่ให้ไปทำที่เว็บบอร์ด หรือเว็บบทความที่ให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับไอโฟน ไอแพด แทน หรือตามเว็บบอร์ดหน้าซื้อขายต่างๆ ก็ได้ เพราะเว็บพวกนี้ ไม่ใช่คู่แข่งในทางตลาดของเรา

Credit : manopas.com/

Backlink อาวุธในการทำ SEO



Backlink อาวุธในการทำ SEO