วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลักการและหน้าที่ของฝ่ายจัดซื้อ

หลักการของการฝ่ายจัดซื้อ

1. การแบ่งกลุ่มของซัพพลายเออร์ (Supplier Classification)  
  • แยกประเภทของซัพพลายเออร์เป็น trading, autorized distributor, manufacturer และร้านค้าปลีก  
    • ศึกษาข้อมูลผู้ผลิตและผู้ขายอย่างละเอียด
  • การให้น้ำหนักการซื้อ เป็นการระบุถึงความเสี่ยงของซัพพลายเออร์แต่ละราย  เพื่อใช้ตัดสินใจในการเลือกที่จะสั่งสินค้า และช่วยลดความเสี่ยงจากการซื้อขาย
    โดย
    ความเสี่ยงของ supplier ที่อาจจะเกิดขึ้นได้แก่
    • ของไม่ตรงตามสเป็ค   
    • ของส่งไม่ตรงเวลา
    • การถูกยกเลิกออเดอร์กระทันหัน
  • มาตรการที่ใช้ลดความเสี่ยง
    • ความเสี่ยงที่ได้ของไม่ตรงสเป็ค - ฝ่ายจัดซื้อมีหน้าที่ในการจัดลำดับและระบุถึง Quality ของซัพพลายเออร์ , สำหรับซัพพลายเออร์ที่มีแนวโน้มว่าส่งของผิดสเป็คอยู่เป็นประจำ จะต้องระบุถึงความเสี่ยงที่รุนแรง และไม่ควรจะถูกสั่งซื้อ (ยกเว้นมันหาไม่ได้จริงๆ ก็ต้องรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้) 
    • ความเสี่ยงที่ สินค้าส่งไม่ตรงเวลา - ฝ่ายจัดซื้อมีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการที่ได้รับของจากซัพพลายเออร์ที่ส่งของไม่ตรงเวลา และเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อการขาย หรือ การผลิต,  ความเสี่ยงนี้จะทำให้ลดลงได้จากการที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี ได้แก่
      • การตั้งเวลาที่เหมาะสม - ถ้างานไหนไม่ชัวร์หรือมีความเสี่ยงในการได้รับสินค้าล่าช้า ต้องประสานงานให้ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อจะได้ทำการเลื่อนลูกค้าตั้งแต่ต้น
      • การติดตาม - การติดตามสถานะของสินค้าของซัพพลายเออร์จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง เช่น ขณะนี้งานไปถึงในขั้นตอนใด ประมาณการเวลาที่จะได้รับของยังตรงเวลาอยู่หรือไม่
      • การเผื่อเวลาไว้เล็กน้อย - แม้ว่าซัพพลายเออร์จะรับปากเรา แต่เราควรจะเผื่อเวลาไว้เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น ของผิดสเป็ค หรือ ของใช้งานไม่ได้ หากงานนั้นไม่ได้เป็นงานด่วนที่ลูกค้าไม่สามารถรอได้
    • ความเสี่ยง ของการถูกยกเลิกออเดอร์กระทันหัน - เป็นอุบัติเหตุของซัพพลายเออร์ แต่ฝ่ายจัดซื้อควรมีการตั้งแผนสำรองเช่น มีซัพพลายเออร์ที่สามารถใช้งานฉุกเฉินได้ในมือ อาจจะต้นทุนด้านราคาสูงกว่า แต่สามารถช่วยให้ส่งงานได้ทันที่รับปากลูกค้าไว้
ฝ่ายจัดซื้อมีหน้าที่รับผิดชอบในคุณภาพของการทำ Supplier Classification และส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของบริษัท หากมีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีผลเสียต่อบริษัทได้

2. การเจรจาต่อรอง สำหรับฝ่ายจัดซื้อนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากช่วยให้บริษัทมีผลกำไรมากขึ้น
แต่มีข้อที่ต้องควรระวังว่า การต่อรองที่มากเกินความเป็นไปได้  คุณอาจจะถูกย้อมแมวขายโดยไม่รู้ตัว  และเงื่อนไขบางอย่างที่สำคัญจะถูกลดทอนลง  เช่นการรับประกัน  การบริการหลังการขาย  ซึ่งการต่อรองนั้นจะต้องวางบนเหตุและผลที่เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด  เช่น หากต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง  ซึ่งเหมือนกันทุกอย่าง  แต่เจ้าหนึ่งรับประกัน 3 ปี  free off-charge ทุกอย่าง  อีกเจ้าก็ 4 ปี (แต่บนเงื่อนไขที่คุณเสียเปรียบในการเคลมอย่างมาก  เช่นต้องเสียค่าเคลมเอง  ค่าส่งที่ชาร์จแพง)  เพราะฉะนั้นการตัดสินใจเลือกแบบประกัน 3 ปี เรียกว่าเป็นการจัดซื้อที่ดี  
การจัดซื้อที่ดีไม่ใช่ซื้อของได้ถูก แต่ต้องได้ของที่คุ้มค่าที่สุด

3. การแบ่งสัดส่วนของออเดอร์ให้แก่ซัพพลายเออร์หลายราย  ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม  หากคุณต้องซื้อของปริมาณเยอะ ๆ และซื้อมาหมดไป  ต้องซื้อใหม่ตลอด (consume) คุณต้องเลี้ยงซัพพลายเออร์ไว้  เช่นว่า  แบ่งออเอร์เป็น 70% ให้เจ้าที่ถูกกว่า  และ 30% ให้เจ้าที่แพงกว่าเป็นอันดับสอง  เพราะหากเกิดกรณีที่เจ้าแรกของขาดสต๊อกกระทันหัน  คุณจะสามารถเรียกสินค้าสำรองจากบริษัทที่สองได้  ซึ่งจะลดการเกิดปัญหาต่อการผลิต  ถือว่าเป็นวิธีการทำที่ถูกต้อง  

แต่ในหลาย ๆ บริษัทที่มองว่าจะเอาแต่ของถูก  ซื้อ 100% จากซัพพลายเออร์ที่ถูกกว่า แต่พอของขาดจะมาเรียกเอาจากเจ้าที่สอง  เค้าก็ไมมีของให้  เพราะเค้าคิดว่าของชิ้นนี้เป็นของที่สต็อกไม่ได้ เพราะสต็อกสินค้าไปก็ขายไม่ได้ คราวนี้มันก็จะส่งผลต่อการผลิตหรือการขายของบริษัททันที

4. การประเมินค่า KPI ของซัพพลายเออร์แต่ละเจ้าทุกปี  โดยการประเมินแบบให้น้ำหนัก (ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์กรนั้น ๆ)  และการอัพเดทสถานะของซัพพลายเออร์  เพราะบางทีใกล้เจ๊ง  รับเงินวางดาวน์ไปแล้วปิดบริษัททิ้งซะงั้น (เช่นงานโครงการ)  คุณแหละคือคนถูกมองว่าผิดคนแรก

5. การหาซัพพลายเออร์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ  ไม่ใช่เพียงแค่องค์กรที่จะได้มูลค่าเพิ่มจากตัวคุณ แต่เป็นตัวของฝ่ายจัดซื้อเองที่จะมีคอนเนคชั่นใหม่ๆ และจะทำให้คุณมีคุณค่าต่อองค์กรสูงขึ้นอีกด้วย นอกจากการค้นหาซัพพลายเออร์ใหม่ๆแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในสินค้าและบริการต่างๆของซัพพลายเออร์ จะทำให้คุณกลายเป็นกำลังสำคัญขององค์กรทันที เนื่องจากคุณมีแนวทางที่จะใช้แก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าขององค์กรเป็นจำนวนมาก หรือพูดง่ายๆคือคุณจะกลายเป็นเสมือนที่ปรึกษาของบริษัทกันเลยทีเดียว ดังนั้นจงหมั่นศึกษาสินค้าและบริการให้มากที่สุด
เมื่อลูกค้าของเรามีปัญหา คุณจะเป็นคนแรก ที่ฝ่ายขาย ฝ่ายบริการลูกค้า จะเข้ามาปรึกษา

6.) การหาสินค้าเพื่อแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า โดยสินค้าที่จัดหาอาจจะช่วยในการ
ทดแทนสินค้าที่มีปัญหา  
- ทดแทนสินค้าหายาก ซึ่งสามารถใช้งานได้ไม่ต่างกัน 
- ทดแทนสินค้าที่มีราคาสูง แต่มีคุณภาพเหมือนๆกัน 
ดังนั้นคุณต้องรู้จักการทดแทนสินค้าโดยไม่ทำให้เสียคุณภาพเดิมไป จงเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ เพิ่มเติมทุกวันๆที่ทำงาน

6. อย่าตวาด  อย่าแสดงท่าทีหยาบคายต่อซัพพลายเออร์  หรือมองว่าเค้าไม่ใช่คน (หลายที่มองเซลเป็นหมาเลย)
เนื่องจากหน้าที่ของเรา จำเป็นต้องติดต่อกับผู้อื่น หากคุณต้องการให้ผู้อื่นปฎิบัติต่อเราเช่นไร เราควรปฎิบัติต่อเขาเช่นนั้น รู้จักการให้เกียรติ ปฎิบัติตัวต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพ และนั่นจะกลายเป็นอาวุธที่สำคัญของฝ่ายจัดซื้อเลย

การพูดจาด้วยความสุภาพ มิได้หมายความว่าคุณจะอ่อนแอ ตกเป็นเบี้ยล่างตลอด เพียงแต่คุณต้องไม่ใส่โทสะลงในการสนทนา ควรอาศัยความเด็ดขาดบนเหตุผลที่เหมาะสม  ไม่ดื้อดึงเอาแต่ใจ  เพราะเมื่อซัพพลายเออร์ไม่พอใจ  คุณอาจจะโดนเค้าก็เล่นงานคุณจนออกจากบริษัทได้ (อย่านึกว่าทำไม่ได้ครับ  มีหลายที่จัดซื้อร้องไห้ออกจากห้อง ผจก. ต่อหน้าเซลเลย) 


สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ของฝ่ายจัดซื้อ

 หากคุณกำลังทำงานอยู่ฝ่ายจัดซื้อ ลองมาทบทวนกันอีกครั้ง (กันลืม) ดีกว่า ว่าสำหรับในหน้าที่พนักงานฝ่ายจัดซื้อ มีอะไรบ้างคือสิ่งที่คุณควรปฎิบัติ (Do) และไม่ควรปฏิบัติ (Don’t)

 Do 
  1. เก็บทะเบียนประวัติและแคตตาล็อกสินค้าต่างๆ ของผู้ขาย
  2. กำหนดคุณลักษณะของสินค้าที่ต้องการให้แน่นอน โดยสอบถามรายละเอียดจากผู้ที่ต้องการใช้สินค้านั้นๆ ให้ครบถ้วน สิ่งที่ควรระบุ เช่น
    • ตราสินค้าหรือยี่ห้อสินค้า อาจระบุชื่อสินค้าไว้ประมาณ 2-3 ชื่อ พร้อมทั้งควรเปิดโอกาสให้กับตราสินค้าอื่นๆ โดยระบุว่า “หรือที่มีคุณภาพเทียบเท่า” 
    • บอกคุณลักษณะที่เฉพาะเจาะจง, มาตรฐานของสินค้า และข้อกำหนดต่างๆ ในการใช้งาน 
    • มีตัวอย่างสินค้าให้ผู้ขายดู 

  3. ศึกษาข้อมูลของชนิดของสินค้าที่ต้องการแล้วนำไปเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละตราสินค้าที่ผู้ขายนำเสนอมาอย่างถี่ถ้วน 
  4. หลีกเลี่ยงการสั่งซื้อของ “ด่วน” เพราะจะทำให้เราเป็นรองกับผู้ขายสินค้าทันที 
  5. มีแบบฟอร์มการสั่งซื้อที่เป็นมาตรฐาน 
  6. มีการบันทึกผล กำหนดการส่งของ เวลา จำนวนในการส่ง และการทำสัญญา 
  7. หาผู้ขายจากบันทึกที่เคยสั่งสินค้าด้วยกันทำให้ลดความเสี่ยงที่จะเจอผู้ขายที่ประวัติไม่ดี 
  8. ให้นโยบายการสั่งซื้อแก่ผู้ขาย ผู้ขายจะได้ปฏิบัติถูกต้อง 
  9. ออกเยี่ยมเยียนผู้ขายเพื่อเป็นการผูกสัมพันธ์ที่ดี และยังทำให้เราทราบถึงสภาพของกิจการของผู้ขายนั้นๆ อีกด้วย 
  10. จ่ายเงินให้ตรงเวลา 

Don’t 

  1. ไม่ควรกำหนดวันส่งมอบที่เป็นไปไม่ได้ เช่นสั่งเช้าต้องการตอนบ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นสินค้าบิ๊กล็อต 
  2. ไม่ควรเก็บสต็อคไว้มากๆ จะทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน และเปลืองเนื้อที่ 
  3. ไม่ควรเชื่อข่าวลือต่างๆ จากทางผู้ขายง่ายๆ ว่าสินค้ากำลังจะขึ้นราคาให้เรารีบสั่งซื้อสินค้ากักตุนไว้ ควรที่จะตรวจสอบที่มาของข่าวให้แน่ชัด 
  4. ไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงคำขอซื้อหรือข้อกำหนดต่างๆ โดยไม่จำเป็น 
  5. ไม่คาดหวังว่าผู้ขายจะส่งของได้ทันเวลาตลอดไป ควรมีแผนสำรองในกรณีที่ผู้ขายไม่สามารถส่งของได้ทันเวลา 
  6. ไม่ควรตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าโดยพิจารณาที่ราคาเพียงอย่างเดียว จงจำไว้ว่า “ของแพงไม่จำเป็นต้องดี และของดีก็ไม่จำเป็นต้องถูก” ลองพิจารณาจากหลายแง่มุม 
  7. จรรยาบรรณของฝ่ายจัดซื้อเป็นสิ่งสำคัญ อย่าตัดสินใจสั่งซื้อสินค้านั้นๆ เพียงเพราะว่าเป็นเพื่อนกันหรือทางผู้ขายให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่เรามากกว่าเจ้าอื่น

วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 118-122

:: พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 118-122 
 
:: หมวด 11 ค่าชดเชย 
มาตรา 118  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่ง เลิกจ้างดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบ หนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า ค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่ น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่ง ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่า ค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปีให้ จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่ น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับ ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5) ลูกล้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อย กว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ การทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
       การเลิกจ้างตาม มาตรา นี้ หมายความว่า การกระทำใดที่ นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะ เป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความ รวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
       ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะ เวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
       การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้ สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของ งานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนด การสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตาม ฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้อง แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็น ต้องตักเตือน
- หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวัน หยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 

มาตรา 120 ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตาม ปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยให้ลูกจ้างมีสิทธิ บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่ น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตาม มาตรา 118
      ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถาน ประกอบกิจการล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย พิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย สามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ด้วย
      ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำขอให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน พิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบ กิจการว่า เป็นกรณีที่นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือลูกจ้าง มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม วรรคหนึ่งหรือไม่
      คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ในกรณีที่นายจ้างเป็น ฝ่ายดำเนินคดีไปสู่ศาลนายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างที่ยื่นคำขอตามวรรคสาม จึงจะฟ้องคดีได้
      การบอกเลิกสัญญาจ้างตาม มาตรา นี้ ลูกจ้างต้องใช้สิทธิภาย ในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ หรือ นับแต่วันที่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานหรือ คำพิพากษาของศาลเป็นที่สุด 

มาตรา 121 ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือ การบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง ห้าม มิให้นำ มาตรา 17 วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้างแจ้งวันที่ จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงาน ตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า หกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง
      ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง นอก จากจะได้รับค่าชดเชยตาม มาตรา 118 แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่า ชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย หกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับ ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยด้วย
      ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย 
      
มาตรา 122  ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตาม มาตรา 121 และลูกจ้างนั้นทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตาม มาตรา 118 ไม่ น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการ ทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย คำนวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตาม มาตรา นี้รวมแล้วต้องไม่ เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้าง ของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้ รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
       เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะ เวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมาก กว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี 

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557