วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภาษีป้าย

ป้ายที่ต้องเสียภาษี ได้แก่
1.  ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฎด้วยวิธีอื่น
2. ไม่เป็นป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีป้าย
ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี
1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ
2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือสิ่งที่ห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้า
3. ป้ายที่แสดงไว้บริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน
ทั้งนี้เพื่อหารายได้และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
6. ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
8. ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
9. ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
10. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
11. ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
12. ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
13. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
   ปัจจุบันมีกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ
   13.1 ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
   13.2 ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
   13.3 ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก 13.1 และ 13.2 โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
1. เจ้าของป้าย
แต่ในกรณีไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) สำหรับป้ายใดเมื่อ เจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ถ้าไม่ อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้ง หรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษีเป็น หนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว
2. ผู้ครอบครองป้าย(กรณีไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายได้)
หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษีป้าย
เพื่อความสะดวกในการเสียภาษี ควรนำหลักฐานประกอบการยื่นแบบ (ภ.ป.1) เท่าที่จำเป็นได้แก่
1. กรณีป้ายที่ติดตั้งใหม่
   - บัตรประจำตัวประชาชน
   - สำเนาทะเบียนบ้าน
   - ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย ฯลฯ
2. กรณีป้ายรายเก่าที่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้ายไว้แล้วควรนำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายครั้งก่อน มาแสดงด้วย
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
     การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ผู้เป็นเจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงข้อความของป้ายใหม่ จะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายใน 15 วัน แนบแต่วันที่ติดตั้งใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงข้อความของป้ายใหม่
การคำนวณพื้นที่แยกเป็น
1. ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้
   - ส่วนที่กว้างที่สุด คูณ ส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย
2. ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้
   - ถือตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนดส่วนที่กว้างที่สุด คูณ ส่วนที่ยาวที่สุด
3. คำนวณพื้นที่เป็นตารางเซนติเมตร
อัตราค่าภาษีป้าย
ภาษีป้ายประเภทข้อความป้ายที่มีอัตราภาษี
1อักษรไทย3 บาท/500 ตร.ซม.
2อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือกปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น20 บาท/500 ตร.ซม.
3(ก) ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่
(ข) มีอักษรไทย บางส่วนหรือทั้งหมด อยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
40 บาท/500 ตร.ซม.

***หมายเหตุ ป้ายตามประเภท 1,2 หรือ 3 เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้าย 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด
– ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
– ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
การชำระภาษีป้าย
1. เจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายที่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ป.1) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
2. ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้าย ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้ว
3. การชำระค่าภาษี ชำระทันทีในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี หรือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน(ภป.3) มิฉะนั้นจะต้องเสียเงินเพิ่ม
บทกำหนดโทษ
ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000 – 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายและแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานประกอบการต้องต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 -10,000 บาท
การอุทธรณ์การประเมิน
ต้องยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่น ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแจ้งประเมิน
การขอคืนเงินภาษีป้าย
ผู้ที่เสียภาษีป้าย โดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินกว่าที่ควรจะต้องเสียผู้นั้นมีสิทธิขอรับเงินคืน ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เสียภาษีป้าย