วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภาษีป้าย

ป้ายที่ต้องเสียภาษี ได้แก่
1.  ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฎด้วยวิธีอื่น
2. ไม่เป็นป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีป้าย
ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี
1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ
2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือสิ่งที่ห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้า
3. ป้ายที่แสดงไว้บริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน
ทั้งนี้เพื่อหารายได้และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
6. ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
8. ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
9. ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
10. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
11. ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
12. ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
13. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
   ปัจจุบันมีกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ
   13.1 ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
   13.2 ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
   13.3 ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก 13.1 และ 13.2 โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
1. เจ้าของป้าย
แต่ในกรณีไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) สำหรับป้ายใดเมื่อ เจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ถ้าไม่ อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้ง หรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษีเป็น หนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว
2. ผู้ครอบครองป้าย(กรณีไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายได้)
หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษีป้าย
เพื่อความสะดวกในการเสียภาษี ควรนำหลักฐานประกอบการยื่นแบบ (ภ.ป.1) เท่าที่จำเป็นได้แก่
1. กรณีป้ายที่ติดตั้งใหม่
   - บัตรประจำตัวประชาชน
   - สำเนาทะเบียนบ้าน
   - ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย ฯลฯ
2. กรณีป้ายรายเก่าที่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้ายไว้แล้วควรนำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายครั้งก่อน มาแสดงด้วย
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
     การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ผู้เป็นเจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงข้อความของป้ายใหม่ จะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายใน 15 วัน แนบแต่วันที่ติดตั้งใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงข้อความของป้ายใหม่
การคำนวณพื้นที่แยกเป็น
1. ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้
   - ส่วนที่กว้างที่สุด คูณ ส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย
2. ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้
   - ถือตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนดส่วนที่กว้างที่สุด คูณ ส่วนที่ยาวที่สุด
3. คำนวณพื้นที่เป็นตารางเซนติเมตร
อัตราค่าภาษีป้าย
ภาษีป้ายประเภทข้อความป้ายที่มีอัตราภาษี
1อักษรไทย3 บาท/500 ตร.ซม.
2อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือกปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น20 บาท/500 ตร.ซม.
3(ก) ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่
(ข) มีอักษรไทย บางส่วนหรือทั้งหมด อยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
40 บาท/500 ตร.ซม.

***หมายเหตุ ป้ายตามประเภท 1,2 หรือ 3 เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้าย 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด
– ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
– ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
การชำระภาษีป้าย
1. เจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายที่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ป.1) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
2. ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้าย ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้ว
3. การชำระค่าภาษี ชำระทันทีในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี หรือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน(ภป.3) มิฉะนั้นจะต้องเสียเงินเพิ่ม
บทกำหนดโทษ
ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000 – 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายและแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานประกอบการต้องต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 -10,000 บาท
การอุทธรณ์การประเมิน
ต้องยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่น ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแจ้งประเมิน
การขอคืนเงินภาษีป้าย
ผู้ที่เสียภาษีป้าย โดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินกว่าที่ควรจะต้องเสียผู้นั้นมีสิทธิขอรับเงินคืน ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เสียภาษีป้าย

4 ความคิดเห็น:

  1. twitch.tv/activate - Enter the code given to you by your device to link it to your Twitch account. Activate Your Twitch TV with us


    roku.com/link provides the simplest way to stream entertainment to your TV. On your terms. Visit roku.com/link for Roku code linking to your Account.


    roku.com/link provides the simplest way to stream entertainment to your TV. On your terms. Visit roku.com/link for Roku code linking to your Account.activate your account just fill out the serial code and stream unlimited channels.

    ตอบลบ
  2. McAfee Activate Security McAfee Retail Card contain valid McAfee 25 digit product key. you will find McAfee activation code Redeem it via www.mcafee.com/activate on your subscription card.

    ตอบลบ
  3. McAfee Activate - McAfee is a best way to protect your computer from viruses.Get an instant support on all errors associated with McAfee.com/Activate ,installation and activation, than Call our toll-free number.

    ตอบลบ