วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

จัดกระบวนทัพ ปรับกระบวนท่า เพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กร ตอนที่ 1

สำหรับในยุคปัจจุบัน ที่เศรษฐกิจดูไม่ค่อยจะดีสักเท่าไหร่ บริษัทและองค์กรทั้งหลายต่างปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่ปริมาณลูกค้าดูจะน้อยลง ส่วนบริษัทที่ขายสินค้าหรือบริการที่เหมือนๆกันดูจะเพิ่มขึ้น

องค์กรใดสามารถ ปรับเปลี่ยนกระบวนการให้มีประสิทธิภาพได้มากกว่า ก็ช่วยให้องค์กรนั้นได้เปรียบในด้านการแข่งขันเชิงธุรกิจที่มากกว่าไปด้วย

โดยการจัดทัพ ปรับกระบวนท่าของเรา ขอกระจายออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ

1. มุมมองของการออกแบบกระบวนการ (Process Design Perspective)

่ก่อนทำการออกแบบนั้น เราต้องหันมาพิจารณาสิ่งที่เรามีซะก่อน แบบที่ในซุนวูได้กล่าวเอาไว้ในตำราพิชัยสงครามว่า "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง"  ดังนั้นก่อนจะเราควรที่จะรู้จักตนให้ดีเสียก่อนว่า องค์กรเรามีอะไร ที่จะไปแข่งกับคนอื่นบ้าง โดยกูรูต่างๆ เขาสร้างเครื่องมือมาให้เรานำมาใช้วิเคราะห์ตัวตนของเรา อาทิ

  • 5W1H : เครื่องมือตัวนี้ใช้วิเคราะห์ปัญหา ดังนั้นเราสามารถเอามาประยุกต์ใช้เพื่อวิเคราะห์องค์กรของเราเอง ว่า ตอนนี้ เราทำอะไร - มีอะไร (what) อยู่ที่ไหน-ตลาด-แหล่งวัตถุดิบ (where) ขาย-ซื้อ-credit เมื่อไหร่ (when)  ใครคือลูกค้าเรา (who) เราทำมันอย่างไร (how) เมื่อท่านเข้าใจตัวเองแล้วก็สามารถ ออกแบบเพื่อจะปรับตัวเองให้เหมาะสม สอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • SWOT : เพื่อหาจุดอ่อน-จุดแข็ง ของตัวเอง หากตัวเองไม่มีจุดแข็ง อาจจะถอยออก หรือหากมองเห็นโอกาส (Opportunity)  ก็เร่งหาจุดแข็งมาเสริม แต่ถ้ามีแต่จุดอ่อนและภัยคุกคาม (Threat)  ก็ถอยออกได้เลยครับ เดินไปต่อก็เสียกับเสีย

จากนั้นก็ลองมาสร้าง แผนภาพความสัมพันธ์ของกระบวนการภายในองค์กร เพื่อจัดทำข้อกำหนดของกระบวนการให้ชัดเจน เพื่อสร้างความเข้าใจในหน้าที่และรายละเอียดของงาน ให้กับพนักงานทุกคน ทุกระดับชั้น เพื่อให้งานแต่ละส่วนดำเนินการไปได้อย่างถูกต้อง ตรงตามเป้าหมาย ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้ตั้งไว้ และต้องนำข้อกำหนดต่างๆที่ระบุไว้ของแต่ละกระบวนการ มาสร้างเป็นตัวชี้วัด (KPI) ในการทำงานด้วย ซึ่งสิ่งนี้จะถูกใช้เป็นกรอบเพื่อออกแบบในรายละเอียดของกระบวนการได้อีกด้วย

หลังจากออกแบบกระบวนการ ตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้แล้ว ก็นำขั้นตอนต่างๆเหล่านั้น มาดูว่าส่วนไหนควรจะต้องใช้แบบฟอร์ม หรือเอกสารอย่างไร , กำหนดทรัพยากรที่ต้องใช้ในกระบวนการเหล่านั้น , จัดตั้งผู้รับผิดชอบให้กับงาน , กำหนดวิธีควบคุมให้งานเป็นไปตามกำหนด , สร้างรูปแบบ วิธีที่จะใช้ในการตรวจสอบทั้งในแง่ของกระบวนการ และ ผลลัพท์ที่ได้จากกระบวนการ จากนั้นนำมาทดลองปฎิบัติและตรวจสอบ แล้วก็ปรับปรุงแก้ไขต่อไป

หลังจากกระบวนการต่างๆที่ได้ค่อนข้างจะเสถียรคือไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ่อยๆแล้ว สิ่งสำคัญที่จะต้องทำตามมาก็คือการจัดทำเป็นเอกสารมาตรฐานของการทำงาน  เพื่อบันทึกช่วยในการบริหารและใช้อ้างอิงสำหรับพนักงานที่เข้ามาใหม่ต่อไป

อ่านต่อตอนที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อช่วยเหลือผู้ตกงาน/ว่างงานของ สพภ. และ ศพจ.

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ช่วยเหลือผู้ที่ตกงาน ว่างงาน และบัณฑิตจบใหม่ ให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ ได้โดยเป็นการเพิ่มรายได้ และเป็นอีกอาชีพหนึ่งในการประกอบอาชีพ ซึ่งการฝึกอบรมอาชีพต่าง ๆ เหล่านี้ผู้ที่เข้ามาขอฝึกไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยมีกลุ่มอาชีพที่เปิดให้บริการเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานและเพิ่มอาชีพ อันได้แก่
หลักสูตรของ

1. ช่างก่อสร้างประกอบด้วย
 - ช่างไม้ก่อสร้าง ช่างไม้เครื่องเรือน
 - ช่างก่ออิฐ ช่างฉาบปูน ช่างปูกระเบื้อง
 - ช่างสีอาคาร ช่างสีเครื่องเรือน
 - ช่างท่อและสุขภัณฑ์ ช่างท่อประปา
 - ช่างประกอบโครงอะลูมิเนียม

2. ช่างเขียนแบบ ประกอบด้วย
 - ช่างเขียนแบบสถาปัตยกรรม
 - ช่างควบคุมงานก่อสร้าง
 - ช่างเขียนแบบพิมพ์โฆษณา
 - ช่างเขียนแบบเครื่องกล

3. ช่างกลโรงงาน ประกอบด้วย
 - ช่างกลึงโลหะ
 - ช่างปรับประกอบเครื่องกล ช่างเครื่องมือกล
 - ช่างแม่พิมพ์พลาสติก และช่างแม่พิมพ์ตัดโลหะ
 - การใช้โปรแกรม AutoCAD 2, 3 มิติ

4. ช่างเชื่อม ประกอบด้วย
 - ช่างเชื่อมไฟฟ้า
 - ช่างเชื่อมก๊าซ
 - ช่างผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น
 - ช่างเชื่อม TIG, MIG/MAC ช่างประกอบท่อ

 5. กลุ่มช่างยนต์ ประกอบด้วย
 - เทคนิคการติดตั้งก๊าซ LPG
 - การซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์
 - การซ่อมเครื่องยนต์เบนซินระบบหัวฉีด
 - การใช้และบำรุงรักษารถยนต์ใช้ก๊าซ NGV
 - ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์
 - ช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็ก

 6. ช่างไฟฟ้า ประกอบด้วย
 - ช่างเดินสายไฟในอาคาร
 - ช่างเดินสายไฟฟ้าอุตสาหกรรม
 - ช่างซ่อมอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
 - ช่างซ่อมตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ

 7. ช่างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
 - ช่างซ่อมวิทยุ ช่างซ่อมโทรทัศน์
 - ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ ช่างซ่อมเครื่องรับโทรทัศน์
 - ช่างเดินสายโทรทัศน์ตอนนอก
 - พนักงานบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ และเทคนิคการซ่อมโทรทัศน์เคลื่อนที่

 8. ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ ประกอบด้วย
 - ช่างเย็บจักรอุตสาหกรรม
 - ช่างเครื่องประดับ
 - ช่างครุภัณฑ์
 - การออกแบบ และตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

 9. ช่างธุรกิจและบริการ ประกอบด้วย
 - พนักงานฝ่ายแม่บ้านของโรงแรม พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม
 - แม่บ้านทันสมัย การประกอบอาหารไทย อาหารนานาชาติ
 - ช่างแต่งผมสุภาพบุรุษ-สตรี ผู้ดูแลเด็กและผู้สูงอายุ
 - พนักงานนวดสปาไทย นวดแผนไทย
 - พนักงานคาร์แคร์

ติดต่อ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.)  ได้ตามสาขาดังนี้

 1. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 1 จังหวัดสมุทรปราการ 1039 ม.15 ต.บางเสาธง กิ่ง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10452 โทร. 0-2315-3780-806 แฟกซ์ 0-2315-3800

 2. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 2 จังหวัดสุพรรณบุรี 13/1 บ้านหนองตาบกาบ ม.4 ต.ไฝ่ขวาง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000 โทร. 0-3541-2394-6 ต่อ 105 แฟกซ์ 0-3541-2400

 3. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 3 จังหวัดชลบุรี 145 ม.1 ถ.สุขุมวิท ต.หนองไม้แดง อ.เมือง จ.ชลบุรี 2000 โทร. 0-3827-6827, 0-3827-6445-6, 0-3827-6825 แฟกซ์ 0-3827-6445

 4. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 4 จังหวัดราชบุรี 113 ม.10 ถ.เขาวัง-บ้านน้ำพุ ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี 7000 โทร. 0-3233-7607-9, 0-3232-8557-60 แฟกซ์ 0-3223-7612 ต่อ 301, 0-3233-7607

 5. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 5 จังหวัดนครราชสีมา กม.205 ถ.มิตรภาพ ต.มิตรภาพ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา 30140 โทร. 0-4441-2646-7 แฟกซ์ 0-4441-2032

 6. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 6 จังหวัดขอนแก่น 151 ม.21 ถ.มะลิวัลย์ ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 4000 โทร. 0-4323-7960-1, 0-4323-7959, 0-4323-7802 แฟกซ์ 0-4323-7808

 7. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 7 จังหวัดอุบลราชธานี 300 ม.11 ถ.คลังอาวุธ ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทร. 0-4531-9550, 0-4531-9593 แฟกซ์ 0-4531-9555, 0-4531-9557

 8. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 8 จังหวัดนครสวรรค์ 159 ม.1 ถ.เอเชีย ต.นครสวรรค์ออก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 6000 โทร. 0-5625-5026 ต่อ 110 แฟกซ์ 0-5625-5330, 0-5625-5069

 9. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 9 จังหวัดพิษณุโลก 99 ม.6 ต.มะตูม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก 65150 โทร. 0-5529-9270-6 แฟกซ์ 0-5529-9227-8

 10. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 10 จังหวัดลำปาง 88 ถ.ลำปาง-เชียงใหม่ ต.ปงแสนทอง อ.เมือง จ.ลำปาง 52100 โทร. 0-5435-6681-2 ต่อ 101, 200 แฟกซ์ 0-5435-6680

 11. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี 433 ม.5 กม.20 ถ.สุราษฎร์-นาสาร ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84100 โทร. 0-7721-1503, 0-7721-1506 แฟกซ์ 0-7721-1504

 12. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 12 จังหวัดสงขลา 167 ม.4 ถ.สงขลา-นาทวี ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 90000 โทร. 0-7433-6050, 0-7433-6048, 0-7433-7042 แฟกซ์ 0-7433-6048-9, 0-7433-7042

ติดต่อ  ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.) ทั่วประเทศ ได้ที่นี่ 

 1. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน กรุงเทพมหานคร อาคารสิรินทรฤาชัย วัดธาตุทอง ถ.สุขุมวิท เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2391-1007 แฟกซ์ 0-2390-2212

 2. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดกระบี่ 245 ม.7 ถ.ท่าเรือ ต.ไสไทย อ.เมือง จ.กระบี่ 81000 โทร. 0-7561-1625-6, 0-7562-3782-3 แฟกซ์ 0-7561-1626

 3. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดกาญจนบุรี 99/9 ม.7 ต.หนองลาน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71130 โทร. 0-3453-1045 แฟกซ์ 0-3453-1045

 4. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดกาฬสินธุ์ 99 ถ.ขอนแก่น-ยางตลาด ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ 46120 โทร. 0-4389-1491 ต่อ 103 แฟกซ์ 0-4389-1492

 5. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดกำแพงเพชร 279 ถ.พรานกระต่าย-กำแพงเพชร ม.7 ต.ศรีโยธิน อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000 โทร. 0-5571-0212, 0-5571-0071 แฟกซ์ 0-5571-0072, 0-5571-0051

 6. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดจันทบุรี 49 ม.3 ถ.สุขุมวิท (สายเดิม) ต.บ่อ อ.ขลุง จ.จันทบุรี 22110 โทร. 0-3936-8266-8 แฟกซ์ 0-3936-8264

 7. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดฉะเชิงเทรา 59 ม.4 ถ.บางคล้า-แปลงยาว ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา 24190 โทร. 0-3885-1220-3 แฟกซ์ 0-3885-1220

 8. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดชัยนาท 447 ม.4 ต.เขาท่าพระ อ.เมือง จ.ชัยนาท 17000 โทร. 0-5641-4810, 0-5641-4801-7 แฟกซ์ 0-5641-4809

 9. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดชัยภูมิ ถ.ชัยภูมิ-บ้านตาดโตนด ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000 โทร. 0-4481-6023-4, 0-4482-2049 แฟกซ์ 0-4482-2070

 10. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดชุมพร 219 ม.10 ถ.ชุมพร-ปากน้ำ ต.ท่ายาง อ.เมือง จ.ชุมพร 86120 โทร. 0-7755-3009 ต่อ 101 แฟกซ์ 0-7755-3008

 11. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดเชียงราย 418 ม.6 ถ.ฝั่งหมิ่น-หนองบัวแดง ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 โทร. 0-5360-0315-17 ต่อ 103 แฟกซ์ 0-5360-0314

 12. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดเชียงใหม่ 335 ถ.เชียงใหม่-ฝาง บ้านศาล ม.3 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180 โทร. 0-5329-8240-1, 0-5329-8237 แฟกซ์ 0-5329-8243

 13. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดตรัง 252/6 ถ.ท่ากลาง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000 โทร. 0- 7521-6112-5 แฟกซ์ 0-7521-6115

 14. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดตราด 174 ม.3 ต.นนทรี อ.บ่อไร่ จ.ตราด 23140 โทร. 0-3952 1961-3 ต่อ 0,106 แฟกซ์ 0-3952-2042 ต่อ 107

 15. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดตาก 5 ม.9 ต.น้ำรึม อ.เมือง จ.ตาก 63000 โทร. 0-5551- 5248, 0-5551-5249 แฟกซ์ 0-5551-5248

 16. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนครนายก 248 ม.4 ต.ปากพลี อ.ปากพลี จ.นครนายก 26130 โทร. 0-3739-8460-2 แฟกซ์ 0-3739-8460

 17. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนครปฐม 135 ม.5 บ้านป่าแก ต.ลำเหย อ.ดอนตูม จ.นครปฐม 73150 โทร. 0-3420-4701-2 แฟกซ์ 0-3420-4699

 18. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนครพนม 19/4 ซ.สามัคคีสุขสันต์ ถ.นครพนม-ท่าอุเทน ต.ในเมือง จ.นครพนม 48000 โทร. 0-4251-1814, 0-4251-2841 แฟกซ์ 0-4251-1824

 19. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนครศรีธรรมราช 79 ม.1 ถ.นครศรี-ปากพนัง ต.บางจาก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80330 โทร. 0-7539-9297, 0-7539-9301 แฟกซ์ 0-7539-9297

 20. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนนทบุรี 62/4 ม.2 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140 โทร. 0-2592-4045-9 แฟกซ์ 0-2592-4045

 21. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนราธิวาส บริเวณศูนย์ราชการแปลงที่ 2 บ้านปลักปลา ต.ลำภู อ.เมือง จ.นราธิวาส 96000 โทร. 0-7353-2128-31 แฟกซ์ 0-7354-2066

 22. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดน่าน กิโลเมตรที่ 5-6 ถ.สายน่าน-ทุ่งช้าง ต.ผาสิงห์ อ.เมือง จ.น่าน 55000 โทร. 0-5477-4862-4, 0-5477-4861 แฟกซ์ 0-5477-4860

 23. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดบุรีรัมย์ ถ.บุรีรัมย์-ห้วยราช บ้านโคกเขาน้อย ม.4 ต.ห้วยราช อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ โทร. 0-4461-4937 แฟกซ์ 0-4465-8162

 24. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดปทุมธานี 2/89 ม.2 ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 โทร. 0- 2577-5867-9 ต่อ 102 แฟกซ์ 0-2577-5871

 25. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ม.3 ถ.คั่นกระได-ชายทะเล ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000 โทร. 0-3260-3197-201 ต่อ 101, 102 แฟกซ์ 0-3260-3201

 26. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดปราจีนบุรี 455 ม.6 รพช.บ้านสระดู่ ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี 25110 โทร. 0-3720-5800 แฟกซ์ 0-3720-5799

 27. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดปัตตานี 197 ถ.โรงเหล้าสาย ช.ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000 โทร. 0-7334-8548, 0-7334-8458 แฟกซ์ 0-7334-8126

 28. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 59/2 ม.4 ต.บางระกำ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทร. 0-3536-0631-5 ต่อ 124, 0 แฟกซ์ 0-3536-0631-5 ต่อ 104,105

 29. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดพังงา 168 ม.6 ต.ทับปูด อ.ทับปูด จ.พังงา 82180 โทร. 0-7659-9331-2, 0-7659-9335 แฟกซ์ 0-7659-9334

 30. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดพัทลุง 255 ม.9 ต.โตนดด้วน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 93100 โทร. 0- 7468-2163-6 แฟกซ์ 0-7468-2164

 31. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดพิจิตร 33 ม.2 ต.โรงช้าง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000 โทร. 0-5665 -5253-6 แฟกซ์ 0-5665-5256

 32. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดเพชรบุรี 58 ม.2 ถ.เพชรเกษม ต.เขาใหญ่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี 76120 โทร. 0-3247-0391-3, 0-3247-0306 ต่อ 22 แฟกซ์ 0-3247-0391-2 ต่อ 12

 33. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดเพชรบูรณ์ 237 ม.5 ถ.สระบุรี-หล่มสัก ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000 โทร. 0-5674-1323-30 แฟกซ์ 0-5674-1323

 34. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดแพร่ 165 ม.3 บ้านร่องกาศ ต.ร่องอากาศ อ.สูงเม่น จ.แพร่ 54130 โทร. 0-5454-3360-4 ต่อ 0, 120, 122 แฟกซ์ 0-5641-1323

 35. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดพะเยา 493 บ้านใหม่ ม.6 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000 โทร. 0-5446-6003, 0-5446-6004 แฟกซ์ 0-5446-6005

 36. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดพะยา 139 ม.4 ถ.เทพกระษัตรี ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 83110 โทร. 0-7627-3470-4 ต่อ 103,101 แฟกซ์ 0-7627-3473 ต่อ 102

 37. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดมหาสารคาม อาคารศูนย์ราชการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ถ.สารคาม-บรมือ ต.แก่งเสิงจาน อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000 โทร. 0-4377-7269, 0-4377-7270 แฟกซ์ 0-4377-7272

 38. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดมุกดาหาร 326 ม.2 บ้านสามขา ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร 49000 โทร. 0-4269-9270-72 แฟกซ์ 0-4269-9274

 39. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 69 ม.4 บ้านแม่สะกิ้ด ถ.แม่ฮ่องสอน-ขุนยวม ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 58000 โทร. 0-5368-6051-2 ต่อ 103, 0-5368-6050 แฟกซ์ 0-5368-6053

 40. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดยะลา ถ.ยะลา-รามัน ม.5 ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา 95140 โทร. 0-7322-9046 แฟกซ์ 0-7322-9042

 41. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดยโสธร 234 ม.1 บ้านกว้าง ต.เขื่องคำ อ.เมือง จ.ยโสธร 35000 โทร. 0-4571-4058-9 แฟกซ์ 0-4571-4060-1

 42. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดระนอง 400/12-14 ม.1 ถ.เพชรเกษม ต.บางบอน อ.เมือง จ.ระนอง 85000 (สำนักงานเช่า) โทร. 0-7782-4651-3 แฟกซ์ 0-7782-4653

 43. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดระยอง 22 ถ.ไอ-1 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ข้างสถานีไฟฟ้าย่อยมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง 21150 โทร. 0-3868-3198, 0-3868-3951 ต่อ 0,121,124 แฟกซ์ 0-3868-3199, 0-3868-3951-3

 44. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดร้อยเอ็ด 224 บ้านหนองยูง ม.7 ต.หนองแวง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000 โทร. 0-4352-5008 ต่อ 100-2 แฟกซ์ 0-4352-5008

45. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดลพบุรี 150 ม.3 ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี 15000 โทร. 0-3642- 6947 แฟกซ์ 0-3642-4945

46. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดลำพูน 129 ม.10 ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน 51000 โทร. 0- 5353-7697, 0-5353-7700 ต่อ 101-103 แฟกซ์ 0-5353-7696

47. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดเลย 323 บ้านเพีย ต.น้ำสวย อ.เมือง จ.เลย 42000 โทร. 0-4281 2930 ต่อ 101, 102 แฟกซ์ 0-4281-2850

48. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดศรีสะเกษ 320 ม.9 ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000 โทร. 0- 4561-5864-6 ต่อ 102, 101, 0-4561-1130 แฟกซ์ 0-4561-5866 ต่อ 107

49. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสกลนคร 8 ม.14 บ้านหนองแฝกพัฒนา ถ.นาคำ-นาเวง ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร. 0-4274-7252-3 ต่อ 11, 12, 0-4274-7302, 0-4274 -7198 แฟกซ์ 0-4274-7252

50. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสตูล 258 ม.2 ถ.คลองขุด-นาแค ต.คลองขุด อ.เมือง จ.สตูล 91000 โทร. 0-7473-0717 แฟกซ์ 0-7472-3763

51. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสมุทรสาคร 59/4 ม.1 บ้านพันธุวงษ์ ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 โทร. 0-3448-0139 ต่อ 17, 19 แฟกซ์ 0-3448-0139 ต่อ 42

52. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสมุทรสงคราม 190 ถ.เอกชัย ต.ลาดใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 75000 โทร. 0-3471-6119 แฟกซ์ 0-3471-1284

53. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสระบุรี 111 ม.1 ต.บ้านโปร่ง อ.หนองโดน จ.สระบุรี 18190 โทร. 0-3622-3347, 0-3623-6294, 0-3623-6293 แฟกซ์ 0-3622-3347, 0-3623-6294

54. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสระแก้ว 230 ม.11 ถ.วันา-แซร์ออ ต.วัฒนานคร อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว 27160 โทร. 0-3726-1627-29 แฟกซ์ 0-3726-1628

55. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสิงห์บุรี ม.3 ถ.สายเอเซีย ต.บางมัญ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี 16000 โทร. 0-3652-4206-8 แฟกซ์ 0-3652-4208

56. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสุโขทัย 69 ม.5 บ้านสามเรือน ถ.สรีสำโรง-ศรีนคร ต.สามเรือน อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย 64120 โทร. 0-5568-2586-7, 0-5568-2567 แฟกซ์ 0-5568-2567

57. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดสุรินทร์ 421 ม.1 ถ.โชคชัย-เดชอุดม ต.บ้านชบ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ 32150 โทร. 0-4457-1552, 0-4457-1550 แฟกซ์ 0-4457-1551

58. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดหนองคาย 355 ม.14 ถ.หนองสองห้อง-ท่าบ่อ บ้านหนองสองห้อง ต.ค่ายบกหวาน อ.เมือง จ.หนองคาย 43100 โทร. 0-4249-5077-79 ต่อ 102,104 โทร. 0-4249-5078

59. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดหนองบัวลำภู 97 ม.7 บ้านโคกน้ำเกลี้ยง ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบังลำภู 39000 โทร. 0-4231-2869-71 ต่อ 11,12 แฟกซ์ 0-4231-2868

60. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดอ่างทอง 59 ม.4 ต.เทวราช อ.ไชโย จ.อ่างทอง 14140 โทร. 0 -3561-2455, 0-3563-9089 ต่อ 101 แฟกซ์ 0-3561-5907

61. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดอุดรธานี 578 ม.4 ต.บ้านจั่น อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 โทร. 0- 4234-1629 แฟกซ์ 0-4234-1630 ต่อ 106

62. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดอุตรดิตถ์ 201 ม.9 ถ.พิษณุโลก-เด่นชัย ต.น้ำริด อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000 โทร. 0-5541-6315, 0-5541-6211 แฟกซ์ 0-5541-6315

63. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดอุทัยธานี ม.2 ต.หนองไผ่แบน อ.เมือง จ.อุทัยธานี 61000 โทร. 0- 5651-4365-9 แฟกซ์ 0-5651-4368

64. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดอำนาจเจริญ 130 ม.3 ต.ไก่คำ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000 โทร. 0-4545-2441 แฟกซ์ 0-4545-2442

65. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนานาชาติเชียงแสน 222 ม.2 บ้านเวียงเหนือ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย 57100 โทร. 0-5377-7471-2 แฟกซ์ 0-5377-7472

66. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนานาชาติสงขลา 167 ม.4 ถ.สงขลา-นาทวี ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 9000 โทร. 0-7433-6052 ต่อ 131, 113 แฟกซ์ 0-7433-6048-9

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

ปัจจัย 9 เพื่อการติดอันดับใน Search Engine (Top 9 Positive Factors)

1. การสร้าง Inbound Link

ในการจะสร้างคะแนนของหน้าเพจ (Google Page Rank) การที่มี link เข้ามาสู่หน้าเพจนั้นๆจำนวนมากๆ (Backlink) รวมไปถึงการทำ Link ภายในตัวเว็บไซต์เองก็มีส่วนช่วยให้ได้รับคะแนนในการจัดอันดับสูงขึ้น

โดยเฉพาะการสร้าง Link ภายในเว็บไซต์เองก็ควรจะใช้ url แบบเต็ม ดังตัวอย่าง

<a href="http://www.tangyongfurniture.com">Home</a>

ดีกว่าที่จะใช้ Link แบบละ domain ไป

<a href="index.php">home</a>

เนื่องจาก bot กูเกิ้ลก็จะไม่นับคะแนนให้ในกรณีที่ 2 นี้


2. การสร้าง Inbound Link และ ลด Outbound Link

การที่มีลิ้งค์เข้ามาที่หน้าเพจตัวเอง เรียกลิ้งค์ประเภทนี้ว่า Inbound ส่วนลิ้งค์ที่ออกไปยังโดเมนของเว็บอื่นเรียกว่า Outbound Link 
ถ้าหากเว็บไซต์เรามี Inbound Link สูง แต่ Outbound Link สูง  กูเกิ้ลบอทจะมองเราว่า เราคือทางผ่าน ไม่ใช่เว็บไซต์ที่จะมีข้อมูลที่คนค้นหาต้องการจริงๆ

วิธีที่จะทำ Link Outbound โดยไม่ให้ google bot เข้าใจว่าเราเป็นทางผ่านคือการใช้ Attribute : Nofollow บริเวณที่ทำลิ้งค์ เพื่อแจ้งบอทว่าไม่ต้องติดตามไปยังหน้าเพจเหล่านั้น

3. การใส่ Keyword ใน Title Tag

การใส่ keyword ใน ส่วน HTML Header ยังคงมีความสำคัญต่อการทำ SEO อย่างมาก ตั้งแต่การสร้างเว็บไซต์ในยุคแรกๆ ตราบจนถึงปัจจุบัน

4. อายุของโดเมน

เนื่องจากโดเมนของเว็บไซต์ใดๆก็ตามที่อยู่มานาน โดยไม่มีการเปลี่ยนเจ้าของโดเมน นั่นหมายถึงการสร้างความน่าเชื่อถือต่อกูเกิ้ล (ไม่แน่ใจว่าให้คะแนนมากแค่ไหน แต่เอาเป็นว่ามันมีผลหละ)

5. ความถูกต้องของการสร้างลิ้งค์

สำหรับเว็บไซต์ที่มี Internal Link เยอะๆ การชี้ลิ้งค์ไปยังหน้าเพจใดก็ตาม ควรจะชี้ไปยังจุดที่มีข้อมูลที่เหมาะสมกับคำค้นนั้นจริงๆ คิดง่ายๆว่า ถ้าเราทำตัวเป็นกูเกิ้ล เราก็อยากให้ผู้ใช้งาน Search Engine เข้าถึงข้อมูลที่ตรง แม่นยำ ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ฉะนั้นการสร้างลิ้งค์ไปหน้าเพจใดๆก็ควรทำให้ถูกต้องเหมาะสมกับข้อมูลด้วย

6. ความน่าเชื่อถือของ BackLink

ถ้าลิ้งค์ที่ทำการเชื่อมโยงเข้าสู่เว็บเพจของเราเป็นเว็บที่มีความน่าเชื่อถือสูง แน่นอนเราย่อมได้อานิสงค์ของความน่าเชื่อถือเหล่านั้น เช่น ถ้าคุณได้รับการลิ้งค์มาจากเว็บดังๆ จะช่วยให้ rank ของเว็บคุณสูงขึ้นแน่นอนทีเดียวเชียว

7. ควรใส่ Keyword ในส่วนที่เป็นเนื้อหาจริงๆ

เนื่องจากการทำ SEO มีทั้งสายมืด (หลอกบอทเป็นนิจ คล้ายพวกเปิดบอทในเกมออนไลน์หลอกผู้เล่น) และสายสว่าง คือทำอย่างจริงๆจัง มีข้อมูลจริงที่ถูกต้อง ไม่ต้องหลอกบอท อาจจะใช้เวลาในการทำอยู่บ้าง แต่มันอยู่ยั้งยืนยงกว่า จริงๆนะ

8. ปริมาณลิ้งค์ที่เข้าสู่เว็บไซต์ (Quantity of BackLink)

นอกจากเรื่องของคุณภาพของลิ้งค์ที่เข้าสู่เว็บแล้ว ปริมาณก็มีผลต่อการยกระดับความน่าเชื่อถือของเว็บเราเองเช่นกัน แต่ระวังอย่าให้เป็นเว็บที่ถูกแบนมาลิ้งค์เข้าละกัน มันไม่ค่อยดี
นอกจากนั้น ลิ้งค์ที่มาจาก Unique IP หรือ IP ที่ไม่ซ้ำกัน จะยิ่งดี

9.  การสอดแทรก Keyword ตามที่ต่างๆ

อย่างเช่นในรูปภาพ อาจจะมีการใส่คำอธิบายที่มีการสอดแทรก keyword ลงไปด้วย หรือ การเน้นหัวข้อลิ้งค์ให้ดูเด่นแตกต่างก็มีผลต่อคะแนนที่ได้รับด้วย เช่น การใช้ Tag Header (H1,H2) สำหรับ keyword เป็นต้น

หากค่อยๆละเมียดละไม แก้ไขปรับปรุงเว็บของเราไปเรื่อยๆตามหลักการที่ดี แล้ว การติดอันดับในกูเกิ้ลสำหรับคำที่ต้องการก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม (แล้วแต่การแข่งขันของ keyword ด้วยนะ)